Tuesday, December 23, 2008

วิจัยเรื่องคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1
บทนำ
ภูมิหลัง
“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองข้ามไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป” (เอกสารประกอบการประชุมสมัชชานานาชาติ แห่งประเทศไทย.2550 : 15)
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ปี พ.ศ. 2523 เกี่ยวกับการพัฒนา
“การพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญขึ้นจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมสร้างต่อให้ เจริญขึ้นไปอีกนั้นยากหนักที่จะทำได้ จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่อง พร้อมกันไปด้วย ” (เอกสารประกอบการประชุม
สมัชชานานาชาติ แห่งประเทศไทย.2550 : 10)
สภาพปัจจุบันที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และถูกครอบงำด้วยวัฒธรรมสวนทางกับวัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ลักษณะของเศรษฐกิจสังคมไทยกำเกิดปัญหาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสนอแนวทางการแก้ปัญหา โดยพระราชทานแนวทางแก้ไขวิกฤตของประเทศ ภายใต้ชื่อว่า “ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตนในทางสายกลาง เพื่อให้ประชาชนาชาวไทยรอดพ้น และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ (สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2546 : 2 -4 ) นอกจากนี้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางอันประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ 2 เงื่อนไข ซึ่งหมายความว่า ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายนอกและภายในรวมทั้งต้องอาศัยความรู้ ความรอบรอบรู้ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการทำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน อีกปะการหนึ่งต้องอาศัยคุณธรรม นั้นคือ ความซื่อสัตย์ สุจริต และดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และยอมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างรวดเร็ว (เอกสารประกอบการประชุมสมัชชานานาชาติ แห่งประเทศไทย . 2550 : 15) ซึ่งสอดคล้องกับพระบรมราชโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยได้พระราชทานไว้เนื่องวันงานวันเด็กแห่งชาติ พุทธศักราช 2531 ไว้ว่า
“ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็ก ๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคง”
พระบรมราโชวาทพระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ปีพุทธศักราช 2531 (ภูมิพลอดุลยเดช ,พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา . 2542 : 34)
นอกจากนี้วัยเด็กเป็นวัยของการพัฒนาที่รวดเร็ว เรียนรู้จากการสัมผัสกับสิ่งของ การกระทำ และปฏิสัมพันธ์ สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่เด็กได้รับสัมผัส คือ สิ่งสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งต้องครอบคลุมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา กิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญต้องทำให้เด็กได้รับ เด็กสามารถสัมผัสได้โดยตรงและได้คิดและได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง สนับสนุนพัฒนาการทางอารมณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย สร้างเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ๆ เด็ก ครู จัดการบริการที่สนองความต้องการของร่างกาย สุขภาพ โภชนาการ กิจกรรมสอดคล้องกับความสามารถการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้รับต้องส่งเสริมทักษะภาษาและทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็ก (วารสารการศึกษาปฐมวัย . (2542 : 1)
กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่น อย่างอิสระตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมธรรมชาติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กมีโอกาสเลือกเล่น ได้อย่างอิสระตามความสนใจ และความต้องการของเด็ก ซึ่งในการเล่นตามมุมนี้เด็กอาจจะเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มย่อยก็ได้ (หลักสูตรการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย : 197 )
สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีความเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา (สุชา จันทร์เอม . 2511 ) ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ความคิด ตลอดจนค่านิยมในสังคม ในขณะที่ความเจริญทางวัตถุมีมากขึ้น แต่ความเจริญทางจิตใจกลับลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนเป็นอุปสรรคและปัญหาในการพัฒนาประเทศ (โสภณ รื่นเวทย์ . 2527) และการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้การคำนึงถึงระเบียบวินัยของคนลดน้อยลงเรื่อย ๆ ดังนั้นการปลูกฝังและสร้างเสริมระเบียบวินัยให้แก่คนในชาติ จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นที่เยาวชนที่เป็นเด็กตั้งแต่ระดับเด็กปฐมวัยขึ้นไปด้วยการฝึกฝนอบรมจนเกิดเป็นนิสัย โดยเฉพาะในกิจกรรมเสรีซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระตามมุม ขณะเดียวกันในการเล่นได้มุ่งเน้นในเรื่องของระเบียบวินัย และเป็นกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กเป็นประจำทุกวันในตารางกิจกรรมประจำวัน และหากว่าเด็กได้รับการฝึกปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอ และมีการชีรูปแบบการจัดกิจกรรมและสื่อที่เหมาะสมย่อมช่วยให้เด็กเกิดวินัยในตนเองและคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม
ดังนั้นผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาถึงคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรี บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าจะมีคุณลักษณะอย่างไร เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการศึกษาเด็กปฐมวัย สำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อไป


ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมหลากหลายวิธีที่ตั้งอยู่บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะพัฒนาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเด็กปฐมวัย ซึ่งจะช่วยให้ครู ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในเด็กปฐมวัยได้เกิดความรู้และความเข้าใจต่อคุณลักษณะของเด็กปฐมวัย และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กต่อไป
ขอบเขตของการศึกษา
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุระหว่าง
4 -5 ปี จำนวน 5 ห้อง นักเรียนทั้งหมดมีจำนวน 150 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ นักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 4 – 5ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งได้มาโดยสุ่มเจาะจง (Purposive sampling) ห้องเรียน 1 ห้องเรียน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง
3. ระยะเวลาในการทดลอง
ในการทดลองครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน รวมทั้งสิ้น 30 ครั้ง
4. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย
ตัวแปรตาม คือ กิจกรรมเสรีบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง










นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย- หญิง อายุระหว่าง 4- 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
2. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางดำรงอยู่และปฏิบัติการในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับและตลอดเวลา โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและมีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะและ 2 เงื่อนไข ดังนี้
2.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นอย่างรอบคอบ
2.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเงื่อนไข 2 เงื่อน ดังนี้
2.4 เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ โดยมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและมีการระมัดระวังในการปฏิบัติ
2.5 เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความอดทน มีความเพียร โดยใช้สติปัญญาควบคู่ในการดำเนินชีวิต
3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ กับ 2 เงื่อนไข ได้แก่
3.1 มีความพอประมาณ ซึ่งครอบคลุมถึง
3.1.1 ความพอประมาณกับศักยภาพของตนเอง
3.1.2 ความพอประมาณกับสภาพแวดล้อม
3.1.3 การไม่โลภเกินไปจนเบียดเบียนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
3.2 มีเหตุผล ซึ่งครอบคลุมถึง
3.2.1 การไม่ประมาท
3.2.2 การรู้ถึงสาเหตุ
3.2.3 การมีความสามารถในการพิจารณาค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
3.2.4 การคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำ อย่างไร


3.3 มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวที่ดี ซึ่งครอบคลุมถึง
3.3.1 การพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
3.3.2 การพึ่งตนเองได้ทางสังคม
3.3.3 การคำนึงถึงผลระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
3.3.4 การรู้เท่าทันและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
3.4 เงื่อนไขความรู้และคุณธรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.4.1 การมีความรู้
3.4.2 การมีคุณธรรม
4. กิจกรรมเสรี หมายถึง เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่น อย่างอิสระตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมธรรมชาติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กมีโอกาสเลือกเล่น ได้อย่างอิสระตามความสนใจ และความต้องการของเด็ก ซึ่งในการเล่นตามมุมนี้เด็กอาจจะเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มย่อยก็ได้
5. กิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง
การจัดสื่ออุปกรณ์ของเล่นตามมุมโย ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3 คุณลักษณะ กับ 2 เงื่อนไข เป็นตัวกำหนดสื่ออุปกรณ์โดยจัดมุมประสบการณ์ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้การใช้สื่อจากธรรมชาติ เศษวัสดุต่าง ๆ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระตามที่ตนเองสนใจ
















กรอบแนวคิดในการศึกษาค้นคว้า
กิจกรรมเสรีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มุมบล็อก
มุมหนังสือ
มุมวิทยาศาสตร์
มุมดนตรี
มุมศิลปะ
มุมบทบาทสมมุติ
มุมเศรษฐกิจพอเพียง


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คุณลักษณะที่พึงประสงค์พัฒนาการทั้ง 4 ด้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 3 คุณลักษณะ 2 เงื่อนไข
1. มีความพอประมาณ
2. มีเหตุผล
3. มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
2 เงื่อนไข
1. เงื่อนไขความรู้
2. เงื่อนไขคุณธรรม


Pre – Post Test

1. แบบสังเกตคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. การสะท้อนความคิดเด็ก
- การสนทนา
- พฤติกรรมทั่วไป
- ผลงานเด็ก


เด็กปฐมวัยนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 4 – 5ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลแห่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า
คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลังจัดกิจกรรมสูงขึ้น

บทที่ 2 เอกสารอ้างอิง

1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของคำว่าเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำจำกัดความของคำว่า เศรษฐกิจแบบพอเพียงไว้อย่างครอบคลุมและลึกซึ้งมาก โดยส่วนหนึ่งของความหมายนั้นได้ทรงดำรัสไว้ว่า
“ คำว่าพอเพียง” มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึง การมีพอสำหรับใช้ของตัวเอง มี ความหมาย “พอมี พอกิน” …. วันนั้นได้พูดถึงว่าเราควรจะปฏิบัติให้พอมี พอกิน พอมี พอกินนี้ ก็แปลว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” นั้นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมี พอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศ มีพอมี พอกิน ก็ยิ่งดี.... พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ.... เพียงก็คือ พอเท่านั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อความโลภน้อย ก็จะเบียดเบียนคนอื่นน้อย .. พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง .. ฉะนั้นความพอเพียงนี้ก็แปลว่าความพอประมาณและความมีเหตุผล
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 ธันวาคม 2541 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน (กรมการปกครอง. 2541 : 2) จากกระแสพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ก่อให้เกิดการระดมความคิดในวงกว้างจากทุกฝ่าย อาทิ นักวิชาการ ข้าราชการ ปราชญ์นักคิดทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยน้อมนำเอากระแสพระราชดำริมาปฏิบัติและหาวิธีการที่จะผลักดันให้บังเกิดผลสำเร็จ ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ให้ความหมายและแง่คิดของคำว่า เศรษฐกิจแบบพอเพียงไว้มากมาย ดังนี้
ประเวศ วะสี (2542 : 4 -6 ) ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้แปลว่า ไม่เกี่ยวข้องกับใคร ไม่ผลิต ไม่ส่งออก ให้ทำเศรษฐกิจมหภาค แต่หมายถึงการที่มนุษย์เรามีความพอเพียงในอย่างน้อย 7 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1) พอเพียงสำหรับทุกคน 2) จิตใจพอเพียง 3) สิ่งแวดล้อมพอเพียง 4 ) ชุมชนเข็มแข็งพอเพียง 5 ) ปัญญาพอเพียง 6 ) อยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมพอเพียง และ
7 ) มีความมั่นคงพอเพียงไม่ใช่วูบวาบ เดี๋ยวจนเดี๋ยวรวย ซึ่งเมื่อทุกอย่างเกิดความพอเพียง ก็จะเกิดความสมดุล คือ ความเป็นปกติและยั่งยืน ซึ่งอาจจะเรียกในชื่ออื่น ๆ ๆด้ เช่น เศรษฐกิจพื้นฐาน เศรษฐกิจสมดุล เศรษฐกิจบูรณาการ เป็นต้น
เสน่ห์ จามริก (2542 : 249) ได้ให้ความคิดเห็นไว้ดังนี้ “’เศรษฐกิจพอเพียง ” ให้ความหมายทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ว่ากันตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกิน
นิคม มูสิกะคามะ (2542 : 263 ) ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพัฒนาตามทฤษฎีใหม่ ที่ทำให้ประเทศอยู่ในสังคมโลกได้อย่างสง่างามน่าภูมิใจ โดยที่สามารถผลิตทรัยพากรได้ตามภูมิปัญญา และเทคโนโลยีแบบไทย มีความพอเพียงในครอบครัว ชุมชนมีความเข้มแข็งช่วยตัวเองได้ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนในศาสนา มีสังคมที่สงบสุขกินดีอยู่ดีขึ้น การผลิตอุดมสมบูรณ์พอเพียงที่จะค้าขายไปยังต่างประเทศ
กรมการปกครอง (2542 : 4) “ได้นำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียง มาอธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง...ตามแนวพระราชดำริ ทรงมุ่งเน้นให้คนไทยพึ่งพาตนเองได้ โดยช่วยเหลือตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก เริ่มต้นที่การพัฒนาเกษตรกรรมใช้ทรัพยากรในดินที่พอมีอยู่เป็นทุนในการเริ่มต้น รู้จักผลิตเพื่อใช้บริโภคแล้วค่อยนำจำหน่ายยึดหลักเกษตรกรรมตามทฤษฎีใหม่ มีการวางแผนการผลิตที่ดี และรู้จักใช้พื้นที่พัฒนาที่ดินทำกิน ยึดถือหลักธรรมชาติเกื้อกูลซึ่งและกัน และพึงมีความพอเพียง ในสิ่งเบื้องต้น 3 ประการ ดังนี้
1. พอเพียง....ในความเป็นอยู่ หมายถึงพอมีพอกินสามารถพึ่งตนเองได้โดยเหมาะสมตามอัตภาพ ทั้งบุคคล ครอบครัว และชุมชน
2. พอเพียง...ในความความ หมายถึง มีการปรึกษาหรือระหว่างบุคคล ครอบครัว ชุมชน และคิดสิ่งในสิ่งที่พึ่งกระทำได้
3.พอเพียง...ในจิตใจรู้จักพอไม่โลภช่วยเหลืออาทรซึ่งกันและกันในระหว่างบุคคลในครอบครัว และชุมชน และมีจิตใจรักชุมชนถิ่นตนเอง
สมชัย จิตสุชน (2542 : 1-2 ) ได้เขียนขยายความพระราชดำรัสตอนหนึ่งของในหลวงไว้ว่า “ความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมีความเหตุผล” พระราชดำรัสของของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541
พระราชดำรัสข้างต้นแสดงว่า พฤติกรรมที่พอเพียงมีองค์องค์ประกอบในขั้นฐานอย่างน้อยสองประการ ประการแรก ได้แก่ ความพอประมาณ กล่าวคือบุคคลจักต้อง “รู้จักพอ” ซึ่งในที่นี้จะขอตีความอย่างแคบว่า หมายถึงความพอในการบริโภค (ซึ่งจะมีนัยต่อไปถึงความพอในการถือครองทรัพย์สิน) อีกประการหนึ่งคือ ความมีเหตุผล กล่าวคือบุคคลต้องทำการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจอย่างมีเหตุมีผล
จากการทบทวนพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็กพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงบุคคลต่าง ๆซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ยึดความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความพอเพียงอย่างมีเหตุและผลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางการดำเนินชีวิต พึ่งพาตนเองได้ ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่โลภ ไม่สุดโต่ง มีความพอประมาณในชีวิตและพอเพียงในความเป็นอยู่
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชานในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้อง อาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินด้วยความอดทน ความเพียร มีสิติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีอยู่ด้วยกัน 5 ส่วนดังนี้
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมากจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีลักษณะพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
O ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
O ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยงข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
O การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4. เงื่อนไขการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรม
O เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ อย่างรอบด้านความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
O เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและสามารถพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม และความรู้และเทคโนโลยี
เป้าหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมายของเศรษฐกิจพอเพียงในคำนิยามคืออะไร พระปฐมบรมราชโองการ “เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” การจะทำอะไรก็ตามประโยชน์ก็ต้องเกิด ความสุขก็ต้องมี แต่เวลาพูดถึงการที่จะสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้น จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้น กับครอบครัว กับชุมชน กับองค์กร กับประเทศชาติ บางครั้งคำนิยามก็อาจจะต่างกัน แล้วประโยชน์สุขตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จะวัดได้จากที่ไหน ก็ต้องพิจารณาจากเป้าหมายของเศรษฐกิจพอเพียง คือมุ่งให้เกิดความก้าวหน้าไปอย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ กล่าวคือ ต้องก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคงและยั่งยืน
ทำไมเราจำเป็นต้องมีพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง หรือมีภูมิคุ้มกัน หลักพุทธมองโลกว่า ทุกอย่างเป็นอนิจจัง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะรู้ได้อย่างไรว่า ถ้าเราออกจากห้องนี้เดินออกไปข้างนอกจะไม่ถูกรถชน ถ้าเราไม่มีเงินเก็บออมหรือการทำประกันสุขภาพเตรียมไว้ในยามจำเป็น ก็จะเกิดปัญหาจนถึงกับเกิดวิกฤตในชีวิตได้ ฉะนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือต้องพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ประมาท มีสติในการดำเนินชีวิต ใช้ปัญญาในการคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อวางแผนรองรับ และรักษาสมดุลได้ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตด้วย สมดุลแปลว่าสมดุลทั้งปัจจุบันและอนาคต วันนี้พอเพียงยังไม่พอ พรุ่งนี้ต้องพอเพียงด้วย คือ ต้องมีความเพียรอย่างต่อเนื่อง ที่จะรักษาความสมดุลให้ได้อย่างสม่ำเสมอ ความเพียรในข้อปฏิบัติมรรค 8 นั้น หมายถึง ความเพียรที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง เพียรที่จะละความชั่วที่เคยทำ หรือทำอยู่แล้ว หรือยังไม่เคยทำให้น้อยลงจนหมดไป เพียรที่จะทำความดีที่เคยทำ หรือทำอยู่แล้ว หรือยังไม่เคยทำให้ดียิ่งๆ ขึ้น
สมดุลในด้านไหนบ้าง คำนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบอกว่าต้องสมดุลทั้งทางด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม/ค่านิยม ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง หรือ ความพอเพียงอย่างสมบูรณ์จริงๆ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราสร้างความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงใน 4 ด้าน คือทางด้านวัตถุหรือเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม/ค่านิยม/ความเชื่อ การก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลในแต่ละย่างก้าว จะทำให้เกิดความพอเพียงในที่สุด
แม้แต่หลักการในการบริหารจัดการธุรกิจสมัยใหม่ บริษัทก็ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มีความโปร่งใสของการทำบัญชี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Corporate Good Governance หรือ CG มีการตรวจสอบภายใน มีการดูแลผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน อันนี้เป็นเพียงแค่เรื่องเศรษฐกิจ หรือการมีความรับผิดชอบขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม หรือ CESR (Corporate Environmental and Social Responsibility) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทควรมี แต่ CESR ก็ยังแคบกว่าพอเพียง เพราะถ้าเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ก็ต้องคำนึงถึงอีก 4 ด้านพร้อมๆ กันอย่างสมดุล คือ ด้านวัตถุหรือเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม
หลายองค์กรธุรกิจเอกชนได้ทำ CESR โดยบอกว่า กำไรก่อนแล้วจะคืนกำไรสู่สังคม แต่ถ้ามีการบริหารจัดการธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในระหว่างการจัดซื้อ การผลิต การทำงาน การหากำไร ต้องเป็นไปอย่างสมดุล คือไม่เบียดเบียนสังคม ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อผู้อื่นในสังคม ถ้าแบ่งปัน ช่วยเหลือสังคมด้วยก็ยิ่งดี และที่สำคัญต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรจะแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้า ตั้งราคาเอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่ สินค้าเป็นภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่ เช่น มีข่าวออกมาแล้วว่า มีสารโลหะตกค้างในเครื่องสำอางค์ที่มีชื่อเสียง ที่พิสูจน์ได้แล้วประมาณ 5 ยี่ห้อ ระหว่างการผลิต ถ้าไม่มีความรอบคอบ ทิ้งสารตะกอนตกค้างเอาไว้ ก็ถือว่าไม่ดำเนินธุรกิจอย่างพอเพียง เพราะ ไม่ก้าวหน้าไปอย่างสมดุล แต่เอาเปรียบผู้บริโภค ไม่มีความรอบคอบ ระหว่างการผลิต ทิ้งสารตะกอนตกค้างเอาไว้ ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ก็ถือว่า ไม่พอเพียง
สมดุลทางด้านเศรษฐกิจ ในระดับบุคคล ก็หมายถึงการดำรงชีวิตโดยรายได้สมดุลกับรายจ่าย เราจะใช้จ่ายอย่างพอเพียงได้อย่างไร รายจ่ายพอประมาณกับรายได้ไหม มีเหตุมีผลคือว่าใช้ของ เพราะจำเป็น หรือฟุ่มเฟือย การใช้เงินอย่างสมดุล ต้องมีภูมิคุ้มกันด้วยคือออมบ้าง การซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือสวัสดิการในบริษัทก็เป็นภูมิคุ้มกัน เพราะฉะนั้นสมดุลทางเศรษฐกิจ คือ ทำอย่างไรจะรักษาสมดุลรายรับรายจ่าย มีเงินออม มีประกันด้วย เพราะฉะนั้นอย่าง กทม. ธ.ก.ส. และองค์กรอื่นๆ อีกมากมายเขาสนับสนุนการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เขาบอกว่าเพื่อชีวิตที่พอเพียง อันนั้นเป็นเครื่องมือ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย คุณจะได้รู้ว่า แต่ละเดือนคุณใช้เงินอย่างไร พอเพียงไหม การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เป็นเครื่องมือเพื่อให้คุณใช้ชีวิตอย่างพอเพียงหรือว่าสมดุล
ยกตัวอย่าง การสร้างความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในการใช้จ่าย ก็อาจจะต้องทำบันทึกรายรับรายจ่าย บัญชีรายรับรายจ่ายเป็นเครื่องมือ เพื่อให้ดูว่า การใช้จ่ายสมดุลไหม ใช้จ่ายมากเกินกว่ารายรับหรือไม่ และต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วย หมายความว่า ต้องมีเงินออม มีหลักประกันต่างๆ ในหลายโรงเรียน ครูฝึกให้เด็กเริ่มทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพราะอยากให้เด็กได้รู้ว่า พ่อแม่มีรายได้มาจากไหน เวลาจะใช้เงินแต่ละบาท แต่ละสลึง จะได้ตระหนักถึงความเหนื่อยยากของพ่อแม่ในการหาเงินมา เรื่องนี้ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
แต่ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ ความพอเพียงในการใช้เงินทอง ไม่เพียงแต่ดูสมดุลของบัญชี รายรับ รายจ่ายเท่านั้น การใช้จ่ายอย่างพอเพียง คือต้องคุ้มค่า สร้างประโยชน์และความสุขให้เกิดขึ้น บางท่านบอกว่าพอเพียงคือประหยัด แต่ประหยัดไม่ได้บอกว่า ตระหนี่ถี่เหนียว คำว่า ทางสายกลาง หมายความว่า ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ใช้เงินเกินตัว แต่ก็ไม่ใช่ว่าประหยัด จนไม่ใช้จ่ายเงินเลย ก็ไม่ถูกต้องอีก การใช้จ่ายแบบทางสายกลางก็คือว่า การใช้เงินอย่างเหมาะสมกับอัตภาพของเรา ศักยภาพของเรา รายได้ของเรา และเหมาะสมกับสถานการณ์ ความจำเป็น สิ่งแวดล้อมด้วย
การพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในช่วงทุกขณะ เช่น ทางด้านเศรษฐกิจ เราไม่รู้ว่าพรุ่งนี้ดอกเบี้ยจะขึ้นเท่าไร ราคาน้ำมันขึ้นลงตลอดเวลา รายได้ของเราก็อาจจะขึ้นลงด้วย เราอาจจะต้องออกจากงาน เศรษฐกิจพอเพียงบอกว่า ไม่ใช่สมดุลหรือคิดเฉพาะวันนี้เท่านั้น พรุ่งนี้ มะรืนนี้ เดือนข้างหน้า ปีข้างหน้า มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฉะนั้นต้องพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ก็นำมาสู่เรื่องกลยุทธ์เรื่องการออม เรื่องการสร้างหลักประกันทางสังคมต่างๆ
สมดุลทางด้านสังคม ถ้าจะบอกได้ว่าเราใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เราก็ต้องมีความสมดุลทางด้านสังคมด้วย เช่น ต้องไม่ใช่คนเห็นแก่ตัว เศรษฐกิจพอเพียงนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ ในสังคมต้องไม่มีใครเอารัดเอาเปรียบกัน ทุกคนช่วยเหลือกัน แบ่งปันกันทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย กำลังใจ และกำลังความรู้ การใช้จ่ายเงินทองเมื่อสมดุลทางเศรษฐกิจ ก็ต้องคำนีงถึงการใช้จ่ายเพื่อสร้างสมดุลทางสังคมให้เกิดขี้นด้วย ถึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ความสมดุลทางสังคมต้องเริ่มจากการให้ คนที่พอแล้วจะรู้จักการให้ รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ มีน้ำใจ แบ่งปัน คนที่ได้รับการแบ่งปันก็จะนึกถึงบุญคุณของผู้ให้ มีความรู้สึกเป็นมิตร หากขัดสนจนคิดจะแย่งชิงจากผู้อื่นในสังคมก็จะระงับยับยั้งชั่งใจไว้ได้ ผู้ให้ก็จะมีความสุขจากการให้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ สร้างความสมดุล ให้เกิดขึ้นในสังคม สร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นได้ในสังคม ชุมชนเข้มแข็งจะเกิดขึ้นได้ ในชุมชนจึงต้องมีความสามัคคี ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ ชุมชนต้องมีการแบ่งปันกัน ช่วยเหลือกันเวลาตกทุกข์ได้ยาก
สมดุลด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร การจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติให้สามารถใข้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เราจำเป็นต้องรักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อม เพราะทุกอย่างที่เราเป็น เราใช้ เรามี มาจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ถ้าเราไม่รักษาไว้ให้ใช้ได้นานๆ เราจะอยู่อย่างไร เราต้องเห็นความจำเป็นของการอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล ไม่ทำร้าย ไม่ทำลาย ไม่เบียดเบียน องค์การสหประชาชาติรณรงค์ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายความว่าการพัฒนาต้องสามารถทำให้คนรุ่นต่อไปดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในระดับเดียวกันกับคนรุ่นปัจจุบัน แต่ใน ความเป็นจริงเราทำได้ไหม ในปี พ.ศ.2504 ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาฯ เรามีป่าไม้ครอบคลุม ทั่วประเทศประมาณ 74 เปอร์เซ็นต์ ในการประเมินแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ตอนนั้นป่าไม้เหลือเพียง 23 เปอร์เซ็นต์ เขาทำลายป่าไปหมดแล้วประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
หลักเศรษฐกิจพอเพียงชี้ให้คำนึงถึงว่า ในการใช้จ่าย หรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ของแต่ละคน แต่ละองค์กรนั้น ให้พยายามรักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อม ให้เกิดขึ้นในคราวเดียวกันด้วย จึงจะเรียกได้ว่า พอประมาณกับทรัพยากรที่มีอยู่ บนพื้นฐานของความรอบคอบตามหลักวิชาการ และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้วย ระหว่างการผลิต ถ้าทำลายสิ่งแวดล้อม ก็ถือว่าไม่มีการผลิตอย่างพอเพียง จะรอบอกว่ากำไรก่อน ค่อยคืนกำไรนั้นสู่การปลูกป่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ไหม ไม่ได้ ระหว่างการผลิตก็ต้องรักษาสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน
ยกตัวอย่างในระดับบุคคล ในชีวิตของเราจนกระทั่งเราเรียนจบหรือแม้แต่ออกไปทำงานแล้ว เราเคยคิดบ้างไหมว่า การใช้ชีวิตของเราใช้กระดาษจำนวนมาก กระดาษมาจากต้นไม้ เราใช้ต้นไม้ไปกี่ต้น และในทางกลับกัน เราเคยปลูกต้นไม้กี่ต้นในชีวิตของเรา หลายองค์กร หลายโรงเรียน มีกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อพ่อ เพื่อร่วมรักษาดูแลสิ่งแวดล้อม แต่ที่สำคัญคือต้องสร้างจิตสำนึกให้รู้ก่อนว่าทำไมต้องปลูกต้นไม้ ต้องเข้าใจก่อนว่า ต้นไม้ให้อะไรกับมนุษย์บ้าง ออกซิเจนที่เราสูดอากาศ มาจากไหน เบื้องต้นก็มาจากต้นไม้ ทุกคนเคยเรียนจากวิชาชีววิทยาเบื้องต้น
มีโฆษณาของหน่วยงานหนึ่ง เริ่มจากเด็กไปเก็บขวดน้ำเปล่า รวบรวมแล้วเอาไปขาย แล้วก็ได้เงินมาไปซื้ออาหาร ไปให้คุณปู่คุณย่า แล้วบอกว่า เด็กใช้ชีวิตพอเพียง กิจกรรมต่างๆ นี้เสริมสร้างสมดุล ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เริ่มจากให้รู้จักการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเริ่มจาก การจัดการขยะ แม้แต่ขวดน้ำ ถ้าเรามองเป็นขยะ เราก็โยนทิ้ง ถ้าเรามองเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เอามาล้าง เอาไปเก็บรวบรวม เอาไปขาย ก็เป็นการเสริมรายได้ เพิ่มเงินค่าขนมให้กับเด็ก ทุกสรรพสิ่งมีค่าหมด อยู่ที่การที่เรามองโลก
มีโรงเรียนหนึ่งเป็นเครือข่ายโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย อยู่ที่ระยอง เขาทำกิจกรรมเสริมสร้างให้เด็กรักสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นที่เด็กก่อน ฝึกให้ใช้สิ่งของอย่างให้เห็นคุณค่า สร้างความพอเพียงด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เกิดขึ้น มีการจัดการโดยให้เด็กนับชิ้นขยะที่ออกมาจากห้องเรียนทุกวัน แล้วมีตารางเปรียบเทียบของทุกห้องเรียน ทุกชั้นเรียนในโรงเรียน แล้วแยกประเภทด้วย เพราะฉะนั้น เด็กเขาก็จะเริ่มรู้ว่า เขาควรใช้กระดาษ 2 หน้า เสร็จแล้วเขาก็ฝึกเก็บกระดาษไปชั่งขาย มีกิจกรรมในการรีไซเคิลขยะต่างๆ การปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก และผู้ใหญ่ก็ต้องทำเป็นตัวอย่าง
เรื่องสุดท้ายสมดุลด้านวัฒนธรรม หากศึกษาพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องวัฒนธรรมจะพบว่า พระองค์ทรงเน้นย้ำมาโดยตลอดให้ปลูกฝังเด็กและเยาวชนไทยให้เห็นคุณค่าในความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย เห็นประโยชน์และคุณค่าของ ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ที่สืบทอดต่อกันมา โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีกระแสโลกาภิวัตน์ถาโถมเข้ามา การเสริมสร้างความพอเพียงทางวัฒนธรรม จะเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ที่จะทำให้เด็กไทย คนไทย มีจุดยืนในชีวิต มีหลักคิด หลักปฏิบัติที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และพัฒนาตนเอง มีความแกร่งในความเป็นไทย เข้าใจในความเป็นสากล เพื่อให้อยู่รอดได้ในยุคโลกาภิวัตน์ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
การปลูกฝังให้เด็กเยาวชน โดยเฉพาะเด็กรุ่นไหม่ๆมีภูมิคุ้มกันที่ดี และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรม ภายใต้โลกยุคโลกาภิวัตน์ได้ มีความภูมิใจในความเป็นไทย เด็กควรจะต้องรู้จักรากเหง้า ประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของตนเอง ของครอบครัว ของสังคมไทย และของชาติ ของประเทศ รู้ที่มาที่ไป เหตุผลของการมีวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมต่างๆ ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนไทยให้มีความสามัคคี จะได้รักชาติ เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมในชาติตน คิดถึงบุญคุณของผืนแผ่นดินไทย ตลอดจนรู้จักแยกแยะและเลือกรับวัฒนธรรมอื่นๆ ที่ไหลเข้ามาสู่ตนในยุคโลกาภิวัตน์ได้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นโทษ อะไรเหมาะสมพอประมาณกับการใช้ชีวิตของแต่ละคนในสังคมไทย อะไรควรทำตาม อะไรควรละเว้น
หลักคิดเรื่องวัฒนธรรมพอเพียงจะทำให้คนไทย ชาติไทย สามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ที่มีสื่อข้อมูลต่างๆ ถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกที่เกิดขึ้น เราจะอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี เราต้องมีรากเหง้า ต้นไม้ที่จะสามารถต้านรับลมที่พัดมาแรงๆ ได้ โดยไม่ล้ม รากแก้วต้องหยั่งรากลึกลงไป ถ้าเป็นต้นหญ้าต้นอ้อ ลมพัดมาแรงทีเดียวก็ล้มเลยเพราะมีแค่รากฝอย ประเทศชาติจะอยู่ได้ เราต้องมีราก รากเหง้า รากแก้ว รากฝังลึกลงไป ซึ่งสิ่งนี้ก็คือความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย
เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องสังคม เรื่องสิ่งแวดล้อม โดยส่วนมากแล้วมักจะเห มือนกันทั่วโลก แต่เรื่องวัฒนธรรม เอกลักษณ์ไทยของเรา ไม่มีใครแย่งชิงไปจากเราได้ เราจะเป็นคนไทยที่มีศักดิ์ศรีได้ เราต้องรู้ถึง ที่มาที่ไปของความเป็นชาติไทย รู้จักประวัติศาสตร์ชาติไทย รู้จักของที่มีค่าของชาติไทย อันได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาที่คำสอนฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมประเพณีไทยอย่างกลมกลืน และพระธรรมเป็นคำสอนที่มีค่าที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้คนไทยสามารถอยู่อย่างพอเพียงมาโดยตลอด และอยู่ร่วมกับคนต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ ต่างวัฒนธรรม ได้อย่างสันติสุข
โดยสรุปแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ได้ทุกเรื่อง OTOP แบบพอเพียงก็มี แบบไม่พอเพียงก็มี กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน แบบพอเพียงก็มี แบบไม่พอเพียงก็มี เราต้องวิเคราะห์ว่าการดำเนินการ และผลที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับความพอเพียงหรือเปล่า วัดที่เหตุ ใช้ความรู้กับคุณธรรมในการตัดสินใจ และการดำเนินการหรือเปล่า ใช้ความรู้ทางหลักวิชา อย่างรอบรู้ รอบคอบหรือไม่ ความคิดและการกระทำอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน ไม่เบียดเบียนกัน มีการช่วยเหลือแบ่งปันกันหรือไม่ วัดที่วิธีปฎิบัติคือความพอเพียงโดยตรง ทำแบบพอประมาณ กับทรัพยากร ทุน ศักยภาพ ภูมิสังคม หรือไม่ มีเหตุมีผลไหม มีภูมิคุ้มกันความเสี่ยงไหม และสุดท้ายวัดที่ผลว่ามีการจัดการให้เกิดความก้าวหน้าอย่างสมดุลและความสามารถที่จะพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ด้านไหม
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ กับ 2 เงื่อนไข ได้แก่
1. มีความพอประมาณ ซึ่งครอบคลุมถึง
1.1 ความพอประมาณกับศักยภาพของตนเอง ที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาร่างกายแรงสมอง ความรู้ ทักษะ ความสามารถ สถานภาพ ฐานะ และข้อจำกัดของตนเอง และตัดสินใจกระทำการใด ๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของศักยภาพของตัวเอง และไม่ทำให้ตนเองเดือนร้อน
1.2 ความพอประมาณกับสภาพแวดล้อม ที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาบริบทของชุมชน / สังคมที่แวดล้อม ทั้งส่วนที่เป็นข้อได้เปรียบ ข้อจำกัด ผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวม และตัดสินใจหรือกระการใด ๆ ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน / สังคม โดยไม่สร้างผลกระทบต่อส่วนรวมหรือทำให้ชุมชน/สังคมเสียประโยชน์
1.3 การไม่โลภเกินไปจนเบียดเบียนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การมีความต้องการน้อย ทำให้ไม่ต้องแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย เอารัดเอาเปรียบ ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือเบียดเบียนผู้อื่นเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมาเป็นของตนเอง โดยบุคคลที่มีความโลภน้อยจะเน้นตัดสินใจและการกระทำที่อยู่บนพื้นฐานของความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การไม่เบียดเบียนผู้อื่นและการแบ่งปันและผลประโยชน์ในลักษณะที่ทำให้ทุกฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์ เพื่อสังคมโดยรวมได้รับผลประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2 . มีเหตุผล ซึ่งครอบคลุมถึง
2.1 การไม่ประมาท
2.2 การรู้ถึงสาเหตุ หมายถึง การมีความสามารถที่จับประเด็นปัญหา และเข้าใจถึงสาเหตุเบื้องต้นหรือที่มาของปัญหา / เรื่องราวที่เกิดขึ้นว่ามาจากสิ่งใด
2.3 การมีความสามารถในการพิจารณาค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
2.4 การคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำ หมายถึง การมีความตระหนักถึงผลมี่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง ว่าจะส่งผลต่อเนื่องไปอย่างไร
3 . มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวที่ดี ซึ่งครอบคลุมถึง
3.1 การพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ ซึ่งแยกได้เป็น
3.1.1 การมีความสามารถในการหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง เช่น มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้ตนเองได้อย่างมีความสุข
3.1.2 การมีระบบป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เช่น การมีเงินออม การมีระบบประกัน การกระจายการลงทุนในแหล่งต่าง ๆ เป็นต้น
3.2 การพึ่งตนเองได้ทางสังคม ซึ่งหมายถึง การที่บุคคลนั้นสามารถอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งรวมถึง การมีครอบครัวที่ดีและการมีกัลยาณมิตรที่ดี ที่จะให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเมื่อได้รับความเดือดร้อน หรือคอยช่วยชี้แนะสิ่งที่ควรปรับปรุง
3.3 การคำนึงถึงผลระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
3.4 การรู้เท่าทันและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง หมายถึง การที่บุคคลนั้นมีการเรียนรู้อยู่เสมอ จึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่จะเข้ามากระทบได้
4 . เงื่อนไขความรู้และคุณธรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4.1 การมีความรู้ ซึ่งประกอบด้วย
4.1.1 การรู้จักตนเอง หมายถึง การมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของตนเอง ทั้งในมิติด้านกายภาพและมิติด้นจิตใจ
4.1.2 การมีความรู้ในเรื่องภายนอก ได้แก่ ความรู้เรื่องชุมชน / สังคม / ประเทศ /โลก ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ ความรู้ทางวิชาการ เป็นต้น
4.1.3 การมีความรอบคอบในการเชื่อมโยงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งความรู้จากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา
4.2 การมีคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย
4.2.1 การมีศรัทธาและตั้งมั่นที่จะทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง
4.2.2 การมีความซื่อสัตย์สุจริต
4.2.3 การมีความเกรงกลัวและละอายต่อการทำชั่ว
4.2.4 มีความเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
4.2.5 มีความสามัคคีปรองดอง
4.2.6 การมีความอดทน พากเพียร ที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ตั้งใจไว้ให้ประสบผลสำเร็จ
4.2.7 การรู้จักตนเองอยู่เสมอ หมายถึง การมีสติระลึก และรู้ตนเองอยู่ทุกขณะ
4.2.8 ความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามความเป็น
จริง


งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
อรสุดา เจริญรัก (2543 : 55 , 76) ได้ศึกษาเรื่องการเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปไทย พบว่า จากการศึกษาข้อมูลที่ได้ของหมู่บ้านพอเพียง (หมู่บ้านพอเพียง หรือตำบลพอเพียงเป็นชื่อหมู่บ้านและตำบลที่สมมุติขึ้น ที่ตั้งในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นสนามในการศึกษา เนื่องจาก พบว่า หมู่บ้านดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียงตามคำนิยาม ) ในยุคก่อนปี 2518 เมื่อยังไม่มีถนนตัดผ่านเข้าไปในหมู่บ้านจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากอิทธิพลภายนอกที่หลั่งไหลเข้ามานั้น กล่าวได้ว่า โครงสร้างสังคมของหมู่บ้านนี้มีลักษณะแบบสังคมประเพณีอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของวิถีการผลิต ที่พบว่าเป็นไปเพื่อการยังชีพด้วยการอาศัยการเกษตรกรรมต่าง ๆ ทั้งปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ผสมผสานไปกับการเก็บของป่า ล่าสัตว์ จับปลา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการปัจจัย 4 ให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขพอสมควรตามอัตภาพ
นันทนา ชุติแพทย์วิภา (2545 : 104) ได้ทำการศึกษา ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ผลวิจัยว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาสาสตร์สิ่งแวดล้อมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01ซึ่งอาจเนื่องมาจากองค์ความรู้ที่จัดให้ในแผนการสอนแต่ละเรื่องมีความสำคัญและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในสังคมปัจจุบัน เป็นสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและได้นำเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า จึงมีส่วนกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจและศึกษาอย่างรู้แจ้ง โดยลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีเหตุผล
มยุรี เสือคำราม (2546 : 130-104) ได้ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระหว่างเกษตรกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรกรรมกระแสหลัก ได้ผลการวิจัยว่า เกษตรกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียงมีระดับและเกษตรกรรมกระแสหลัก (เกษตรกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ระบบการเกษตรที่ผลิตสินค้าการเกษตรหลายอย่างเพื่อลดเสี่ยง โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ ประหยัด พึ่งพาตนเอง รู้จักพอประมาณ พออยู่พอกิน ส่วนเกษตรกรรมกระแสหลักนั้น หมายถึง ระบบการเกษตรที่ปลูกพืชชนิดเดียวในพื้นที่การเกษตร เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผลผลิต และพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก) โดยเกษตรกรรมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมีคะแนนเฉลี่ยระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 13.75 ส่วนเกษตรกรรมกระแสหลักมีคะแนนเฉลี่ยระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 11.29 ซึ่งเมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ แบบ T-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % แล้ว พบว่า คะแนนเฉลี่ยระดับการพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ทั้งเกษตรกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรกรรมกระแสหลักมีความแตกต่างกันเมื่อพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยจึงพบว่า เกษตรกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียงมีระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สูงกว่าเกษตรกรรมกระแสหลัก
พระขวัญชัย ศรีพรรณ์ (2546 : 68) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลของการสอนนักเรียนแบบอริยสัจกับการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการใช้แนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้การวิจัยที่พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบอริยสัจกับการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์มีการใช้แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า การสอนแบบอริยสัจเป็นการสอนที่พระพุทธเจ้าได้มุ้งเน้นที่จะสอนพุทธสาวกเพื่อนำไปสู่ความเป้นอยู่อย่างมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง โดยมุ่งเน้นความต้องการของชีวิตมีปัจจัย 4 เป็นสำคัญทำให้เกิดความพอเพียงกับความเป็นอยู่ (การสอนแบบอริยสัจ หมายถึง การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ นักเรียนแสวงหาการคิดวิเคราะห์วิธีการในการแก้ปัญหาด้วยตนเองจากปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบแล้วหาสาเหตุและแนวทางในการตัดสินใจ ส่วนการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ หมายถึง การสอนที่อาศัย
สัมพันธภาพของนักเรียนในขณะร่วมปฏิบัติกิจกรรม เพื่อใช้แก้ปัญหาและตัดสินใจ)
สกล พรหมสิน (2546 : 98) ได้ทำการศึกษาการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ของประชาชนตำบลหงส์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ประชาชนตำบลหงส์เจริญมีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านปรากฏว่าด้านครอบครัวเข้มแข็ง เป็นอันดับแรก รองลงมา ได้แก่ ด้านปัจจัยสี่พอเพียง ด้านการศึกษาถ้วนทั่ว ส่วนด้านรายได้พอเพียง อยู่ในระดับต่ำสุด และระดับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลหงส์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ50.8รองลงมาคือมีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48.7 และการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ .50
ประจักษ์ นาหนองตูม (2543 : 37 -56) ได้ทำการศึกษาการดำเนินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ของโรงเรียนแกนนำโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น จำนวน 12 โรงเรียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวน 423 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักการภารโรง กรรมการโรงเรียน และนักเรียน ซึ่งในส่วนหนึ่งจาการศึกษาในด้านพบว่า ทุกโรงเรียนได้จัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก สามารถสร้างลักษณะที่พึงประสงค์กับนักเรียน ในด้านการรู้จักพึ่งตนเอง ขยัน อดทน ไม่ท้อถอย รู้จักดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข สามัคคีสามารถทำงานเป็นหมู่คณะ รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล อุดหนุนซึ่งกันและกัน สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถตามลำดับ สามารถกำหนดทางเลือก เลือกทางเลือก เลือกผู้รับผิดชอบงาน ได้อย่างมาก สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ค่อนข้างดีมาก สำหรับนักเรียนในด้านการหาข้อมูล การสร้างองค์ความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติ นำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
กีรีวัฒน์ อัดเส (2543 : 42-71) ได้ศึกษาการดำเนินงานตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านห้วยชัน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบไปด้วย ผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน และกรรมการโรงเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งส่วนหนึ่งได้ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อต่อความสำเร็จของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านห้วยชันดังนี้
1. สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพทางภูมิศาสตร์ของโรงเรียนบ้านห้วยชัน มีความเหมาะสมที่จะทำการเกษตรและประการสำคัญมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรได้ตลอดปี
2. ผู้บริหาร ผู้บริหารเป็นคนขยันขยันแข็ง มุมานะในการทำงาน และเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม
3. ครูผู้สอน ครูผู้สอนในโรงเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ตั้งใจปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ
4. นักเรียน นักเรียนมีความขยัน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติงานได้ผลดีเยี่ยม
วินัย ประวัน (2544 : 110 – 116 ) ได้ทำการศึกษาโดยทำเป็นรายงานการค้นคว้าอิสระเกี่ยวกับ รูปแบบการดำเนินการ และปัญหาการดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยทำการศึกษากับกลุ่มประชากรที่ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำนวนทั้งสิ้น225คน ซึ่งผลจากการศึกษาส่วนหนึ่งพบว่า การดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนแกนนำ สังกัดงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง และปัญหาที่พบจากการดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนแกนนำ ได้แก่ สภาพที่ดินของโรงเรียนมีคุณภาพต่ำ ขาดงบประมาณในการดำเนินการ การใช้ประโยชน์จากน้ำก็ไม่เป็นระบบที่ดี โดรงเรียนมีน้ำไม่เพียงพอ รายได้ไม่แน่นอน ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่เกิดจากการปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลา เป็นต้น บุคลากรในโรงเรียนก็ไม่มีความชำนาญในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทำให้การดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงขาดประสิทธิภาพและผลผลิตไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร
สมพร พงษ์เสถียรศักดิ์ (2546 :5-8 , 99- 100) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการประพฤติตาตามคุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนหลักธรรมในพุทธศาสนาด้วยการสอนแบบโยนิโสมนสิการกับการสอนแบบไตรสิกขาโดยที่ส่วนหนึ่งที่ทำการศึกษาเป็นการเปรียบเทียบการประพฤติตนตามคุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนหลักธรรมในพุทธศาสนา ด้วยการสอนแบบโยนิโสมนสิการและการสอนแบบไตรสิกขา (สอนแบบโยนิโสมนสิการ หมายถึง การสอนครูใช้วิธีการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการตามแนวพุทธวิถี โดยจัดระบบการคิดวิเคราะห์ คิดเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผล ส่วนการสอนแบบไตรสิกขานั้น หมายถึง การสอนที่ครูต้องการพัฒนาให้รู้จักการควบคุมตนเองทางกาย วาจา ความคิด และสติปัญญา โดยเน้นการปฏิบัติตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวประกอบไปด้วย กลุ่มที่ 1 นักเรียนจำนวน 30 คน ที่ได้รับการสอนแบบโยนิโสมนสิการ และกลุ่มที่ 2 นักเรียนจำนวน 30 คน ที่ได้รับการอนแบบไตรสิกขา โดยที่ก่อนที่กลุ่มที่ 1 และ 2 จะได้รับการสอนนั้น ได้มีการวัดผลก่อนการเรียนของทั้ง 2 กลุ่ม และวัดผลหลังจากการสอนของทั้ง 2 กลุ่มแล้วนำมาเปรียบเทียบผลก่อน – หลัง ได้ผลที่พบว่า กลุ่มที่ 1 ซึ่งได้รับการสอนแบบโยนิโสมนสิการมีการประพฤติตนตามคุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนกลุ่มที่ 2 ที่ได้รับการฝึกแบบไตรสิกขา มีการประพฤติตนตามคุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2 . เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้
2.1 ความหมายของการเรียนรู้
เมื่อเอ่ยคำว่าการเรียนรู้ ผู้เขียนคาดว่าผู้อ่านส่วนใหญ่เคยได้ยินและคิดว่ารู้จักคำนี้ดี แต่ก็มีบ่อยครั้งที่พอถามถึงความหมายที่แท้จริง กลับมีหลายท่านพยายามหาคำตอบ แต่ยังมิสามารถหาคำตอบที่เหมาะสมได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงใคร่ขอนำแนวความคิดของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาต่างๆ ที่ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้มาเสนอไว้ดังนี้
ก. คิมเบิลและการ์เมอซี่ (Kimble and Garmezy) ( อ้างอิงใน กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ . 2531 : 125 ) กล่าวว่า “การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรงมิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติที่เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) เช่น การกระพริบตาเมื่อผงเข้าตาเป็นต้น หรือวุฒิภาวะ หรือ ยา ”
ข. การ์ดและเบาเวอร์ (Hilgard and Bower) กล่าวว่า “ การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น สัญชาติญาณ ฯลฯ” หรือวุฒิภาวะหรือจากการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของร่างกาย เช่นความเมื่อยล้า พิษของยา เป็นต้น
ค. แกรี่และคิงส์เล่ย์ (Garry and Kingsley) อธิบายว่าลักษณะของการเรียนรู้ มี 3ประการ
1. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ เพราะมีวัตถุหรือแรงจูงใจ
2. การเรียนรู้เกิดจาก การพยายามตอบสนองหลายรูปแบบ เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายคือ การแก้ปัญหา
3. การตอบสนองจะกระทำจนเป็นนิสัย
ง. เมดนิล (Mednick) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ดังนี้
1. การเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. การเรียนรู้เกิดจากการฝึกฝน
3. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรจนเกิดเป็นนิสัย มิใช่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
4. การเรียนรู้มิอาจสังเกตได้โดยตรง เราทราบแต่การกระทำที่เกิดจากการเรียนรู้แล้วเท่านั้น
จากแนวคิดของนักจิตวิทยาหลายท่านดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนสรุปได้ว่า เพื่อให้ท่านเข้าใจความหมายของคำว่าการเรียนรู้ให้ถ่องแท้ ก่อนอื่นการที่ท่านจะกล่าวว่าใครเรียนรู้หรือยังท่านจะต้องทราบสิ่งสำคัญ 2 สิ่ง คือ
1. พฤติกรรมเดิมก่อนให้เรียนรู้
2. พฤติกรรมใหม่เมื่อให้เรียนรู้แล้ว
ถ้าเขียนแผนผัง สามารถเขียนได้ดังนี้

พฤติกรรมเดิม
พฤติกรรมใหม่
การ
เรียนรู้





พฤติกรรมเดิม = ศึกษาจากภูมิหลัง
พฤติกรรมใหม่ = ศึกษาจากจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมในการเรียนรู้
ดังนั้น การเรียนรู้น่าจะหมายถึง “กระบวนการที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปเป็นพฤติกรรมใหม่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลจากการได้รับประสบการณ์หรือได้รับการฝึกฝนมิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาติญาณ วุฒิภาวะ พิษยาต่าง ๆ รวมทั้ง อุบัติเหตุหรือความบังเอิญ”
ธรรมชาติการเรียนรู้
นักจิตวิทยาที่กล่าวว่าถึงธรรมชาติการเรียนรู้ได้ถูกต้องเหมาะสม และเป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป บุคคลหนึ่งในหลายสิบคน คือ บลูม (Bloom)
บลูม (Bloom) กล่าวว่าเมื่อเกิดการเรียนรู้ในแต่ละครั้งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจนถึง 3ประการ จึงเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ คือ
1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความคิด ความเข้าใจ (Cognitive Domain) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง เช่น การเรียนรู้มโนภาพ (Concept) ฯลฯ
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์หรือความรู้สึก (Affective Domain) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม ฯลฯ
3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อให้เกิดความชำนาญหรือทักษะ ( Psychomotor Domain) เช่นการว่ายน้ำ ฯลฯ
การเปลี่ยนแปลงนี้จะเริ่มจากข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ตามลำดับ พฤติกรรมที่แสดงออกมามักเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงถึงด้านที่ 3 แล้ว
องค์ประกอบที่สำคัญซึ่งก่อให้เกิดการเกิดการเรียนรู้
มีนักจิตวิทยาหลายท่านพยายามอธิบายถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ โดยก่อให้เกิดการเรียนรู้ ดังนี้
ก. การเย่ (Gagne) กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
1. ผู้เรียน (The learner) ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะรับสัมผัส 5ชนิด (คือ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย ) ระบบประสาทส่วนกลาง (A central nervous system) และกล้ามเนื้อ (Muscles )
2. สิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ (A stimulus situation) ที่เป็นสิ่งเร้าได้แก่สถานการณ์หลาย ๆ สถานะที่เกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน
3. การตอบสนอง (Response) เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งเร้า เช่น น.ส. สมศรีห่อริมฝีปาก เมื่อเห็นมะนาว ในที่นี้มะนาวเป็นสิ่งเร้า การห่อปากคือการตอบสนองเพราะเรียนรู้ว่ามะนาวเปรี้ยวฯลฯ
ข. ดอลลาร์ดและมิลเล่อร์ (John Dollard and Neal Miller) กล่าวว่าองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ
1. แรงขับ (Drive) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายหรือจิตใจขาดสมดุลย์ แล้ว พยายามผลักดันให้เกิดพฤติกรรมที่นำไปสู่ความสมดุลของร่างกายหรือจิตใจอีกครั้งหนึ่ง เช่น ร่างกายขาดอาหารเกิดความหิว ร่างกายพยายามหาอาหารเข้าไปทดแทนจนหายหิว จิตใจขาดความรัก ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องความรัก เป็นต้น
แรงขับนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.1 แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) เป็นการขาดความสมดุลย์ทางร่างกาย ทำให้เกิดความต้องการทางร่างกายขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นภายหลังเมื่อใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแล้ว เช่น ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความมั่นคงปลอดภัย เป็นต้น
1.2 แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) เป็นการขาดความสมดุลย์ทางจิตใจ ทำให้เกิดความต้องการขึ้นซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นภายในเมื่อใช้ชีวิตอยู่ในสังคม แล้ว เช่นคน บทเรียน เป็นต้น
2. สิ่งเร้า (Stimulus) หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่มากระทบอินทรีย์แล้วกระตุ้นให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมโต้ตอบออกมา สิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ เช่น คน บทเรียน เป็นต้น
3. การตอบสนอง (Response) หมายถึงพฤติกรรมที่อินทรีย์โต้ตอบต่อสิ่งเร้าเมื่อถูกสิ่งเร้ากระทบหรือกระตุ้น เช่น การพยักหน้าแสดงความเข้าใจของผู้เรียนต่อคำพูดของผู้สอน การกระพริบตามเมื่อผงเข้าตา เป็นต้น
4. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงการที่สิ่งเร้าใดก็ตามได้ช่วยเสริมให้อินทรีย์การตอบสนองต่อสิ่งเร้าอยู่ตลอดเวลาทุกครั้ง อันทำให้ความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองมีอยู่ตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา เช่น คำชมเชยหรือการให้รางวัล ทำให้เด็กอยากที่จะตอบคำถามของครูอยู่เรื่อย ๆ
จะเห็นได้ว่าการเสริมแรงนี้จะให้หลังจากที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้แล้ว เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้นั้นนานคงทนต่อไป ดังเช่นคำกำกัดความที่ว่าการเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร คำว่าค่อนข้างถาวรนั้นเกิดจากการเสริมแรง
สำหรับตัวผู้เรียนเอง ยอมรับแนวความคิดของดอลลาร์และมิลเล่อร์ แต่ในองค์ประกอบที่ 1 คือแรงขับนั้นผู้เขียนคิดว่าควรจะครอบคลุมไปถึงการพิจารณาด้านความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการสร้างแรงจูงใจให้เกิดความพร้อมขึ้นในการเรียนรู้ด้วย เพราะ ถ้าสร้างแรงขับให้เกิดขึ้นแต่ร่างกายไม่พร้อมที่จะตอบสนองต่อการเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นก็คงไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
กระบวนการเรียนรู้
ในการอธิบายถึงกระบวนการต่าง ๆ ในการเรียนรู้นั้น มีนักจิตวิทยาหลายท่านได้อธิบายไว้มากมาย ซึ่งอาจจะคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันไป ดังนี้
ก. คลอสไมเมอร์และกู๊ดวิน ( Klausmeier and Goodwin) ได้จำแนกลำดับขั้นของกระบวนการเรียนรู้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
1. ผู้เรียนได้รับการจูงใจให้เรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่บ่งไว้อย่างชัดเจน
2. การพิจารณาสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
3. การพิจารณาผลจากการกระทำ ซึ่งแบ่งออก เป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 การกระทำซ้ำอีกเมื่อผลที่ได้รับบรรลุตามจุดมุ่งหมายจนเป็นที่พอใจ (Confirm Response)
ส่วนที่ 2 ไม่กระทำซ้ำอีก เพราะผลที่ได้ไม่บรรลุตามจุดมุ่งหมายซึ่งไม่เป็นที่พอใจ (Reject Response )
4. การรับรู้ในผลที่ได้รับจากการประเมินผล ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 รับรู้ด้วยความพอใจ เพราะบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
ส่วนที่ 2 รับรู้ด้วยความผิดหวัง เพราะไม่บรรลุตามจุดมุ่งหมาย
5. การสรุปผลของการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 สรุปว่ามีสัมฤทธิผลในการเรียนรู้ ควรเก็บไว้และนำไปใช้ได้อีกในคราวต่อไป
ส่วนที่ 2 สรุปว่าล้มเหลว ต้องแก้ไขปรับปรุงหาวิธีการใหม่ที่จะทำให้สัมฤทธิผลได้
ข . กาเย่ (Gagne) ได้แบ่งกระบวนการเรียนรู้ออกเป็นขั้น ๆ 8 ขั้นดังนี้
1 . การจูงใจ (Motivation Phase) เป็นการชักจูงให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ โดยตั้งเป้าหมายไว้แล้ว และเป็นสิ่งที่ผู้เรียนพอใจเมื่อได้เรียนรู้ กาเย่กล่าวว่า ความคาดหวัง (Expectancy) ของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจอันสำคัญในการเรียนรู้
2. การรับรู้เรื่องต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับความคาดหวังของผู้เรียนหรือรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase ) เช่น ความตั้งใจ (attention) และการเลือกการรับรู้ (Selective perception) ความตั้งใจเป็นรากฐานสำคัญของการเลือกการรับรู้ ผู้เรียนจะสามารถเขียนเป็นแผนผังง่าย ๆ ดังนี้
1 2 3 4
จุดมุ่งหมายในการสอน










ศึกษาภูมิหลังของผู้เรียน
กระบวนการเรียนการสอน

การทดสอบเพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย






จากแผนผังสามารถอธิบายได้ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายในการสอน (Instruction Objectives ) หมายถึง จุดมุ่งหมายที่ผู้สอนตั้งไว้ก่อนสอนว่า ต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากเรียนรู้แล้วอย่างไร ดังนั้น จึงมักตั้งจุดมุ่งหมายเป็นจุดมุ่งหมายชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives) คือจุดมุ่งหมายที่สามารถสังเกตและวัดพฤติกรรมการเรียนรู้นั้นได้จริง ๆ เช่น การสอนเลขาคณิตในเรื่องลบเราอาจตั้งจุดมุ่งหมายไว้ว่า ต้องให้ผู้เรียนสามารถทอนเงินได้ถูกต้อง เป็นต้น
2. การศึกษาภูมิหลังของผู้เรียน (Entering Behavior) หมายถึงการที่ผู้สอนต้องการทราบเสียก่อนว่า ผู้ที่จะเรียนรู้กับตนนั้นมีพื้นความรู้มาแล้วเกี่ยวกับวิชาที่จะเรียนมากน้อยเพียงใด เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบแนวทางที่จะสอนว่า ควรจะสอนอย่างไร ผู้เรียนจึงจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยพยายามเอาความรู้หรือประสบการณ์เดิมเข้ามาเกี่ยวข้องในเวลาสอน เช่น การสอนจิตวิทยาการศึกษา ผู้สอนต้องศึกษาภูมิหลังของผู้เรียนเสียก่อน เคยเรียนก่อนว่า เคยเรียนหรือเคยได้ยินคำว่าจิตวิทยามาบ้างแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่เคยผู้สอนจะเริ่มสอนจากวิชาจิตวิทยาก่อนแล้วจึงสอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในขั้นต่อมา แต่ถ้าเคยได้เรียนหรือเคยได้ยินมาบ้างแล้ว ก็อาจสอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาต่อไปเลย เป็นต้น
3. กระบวนการเรียนการสอน (Instruction Procedures) หมายถึง กระบวนการการที่ผู้สอนกำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง กระบวนการดังกล่าวนี้ ถ้าจะกล่าวโดยอาศัยหลักการเรียนรู้ในปัจจุบันที่นิยมใช้กันส่วนมากแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
3.1 วิธีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) หมายถึงกระบวนการที่ผู้สอนจะเน้นส่วนย่อยแต่ละส่วน แล้วจึงสรุปทีหลัง นักปราชญ์บางท่านเรียกว่าการสอนแบบอุปมาน (Inductive Teaching) ซึ่งหมายถึง การสอนจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนรวมนั่นเอง หรือกล่าวได้ว่าการสอนจากตัวอย่างไปสู่เกณฑ์หรือหลักทั่ว ๆ ไป วิธีนี้ใช้มากในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนพบกฎหมายหรือความจริงต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3.2 วิธีเกสตัลท์ (Gestalt) หมายถึงกระบวนการที่ผู้สอนจะเน้นส่วนรวมหรือกฎเกณฑ์เป็นหลัก แล้วจึงแยกอธิบายออกเป็นส่วนย่อย ๆ นักปราชญ์บางท่านเรียกว่าการสอนแบบอนุมาน (Deductive Teaching) ซึ่งหมายถึงการสอนจากกฎเกณฑ์ไปสู่ตัวอย่างปลีกย่อยนั่นเอง วิธีนี้ใช้มากในการสอนภาต่าง ๆ เพราะการเรียนภาษาต้องมีหลักหรือกฎที่แน่นอนวิธีนี้กำลังเป็นที่นิยมใช้กันมากในวงการศึกษาของเมืองไทยปัจจุบัน
อนึ่งกระบวนการสอนทั้ง 2 วิธีนี้ ผู้สอนอาจเลือกใช้ตามความถนัดและความเหมาะสมของเนื้อหาวิชาได้
4. การทดสอบ (Performance Assessment) หมายถึงการที่ผู้สอนทดสอบผู้เรียนหลังจากที่สอนแล้ว ว่าเกิดการเรียนรู้หรือยังตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ในข้อ 1

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) ในปัจจุบันมีนักจิตวิทยาหลายท่านได้แบ่งไว้แตกต่างกัน แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละท่าน ในที่นี้ผู้เขียนใคร่ของแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้โดยยึดหลักความนิยม และสามารถนำไปใช้ได้จริง ๆ ในวงการศึกษาของไทยในปัจจุบันโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้


1.ทฤษฎีการต่อเนื่อง 2. ทฤษฎีการใช้ความเข้าใจ


1. ทฤษฎีการเรียนรู้ (Wertheimer)1.ทฤษฎีการวางเงื่อนไข 2. ทฤษฎีการเชื่อมโยง 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ 1. ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ 2.ทฤษฎีใช้เครื่องหมาย
1. แบบอัตโนมัติ (Pavlov , watson) (Thorndike) Hall
2.ทฤษฎีการหยั่งเห็น
( Kohler)
3.ทฤษฎีสนาม
(Lewin )
2. แบบจงใจกระทำ (Skinner)
3. แบบต่อเนื่อง (Guthrie)

จากแผนผังสามารถอธิบายได้ดังนี้
2.5.1 ทฤษฎีการต่อเนื่อง (Associative Theories) แบ่งออกเป็น 3 ทฤษฎี ย่อยคือ
ก . ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟและวัตสัน
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขจงใจกระทำของสะกินเนอร์
3. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขต่อเนื่องของกัทธี
ข. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
ค. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์
2.5.2 ทฤษฎีการใช้ความเข้าใจ (Cognitive Theories ) แบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎีย่อย คือ
ก. ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์
ข. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยเครื่องหมายของทอลแมน (Tolman ’ sing Theory)
2.5.3 ทฤษฎีต่อเนื่อง (Associative Theories) เป็นนักทฤษฎีที่ใช้หลักการเรียนรู้ แบบกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) คือเรียนรู้จากส่วนย่อยไปสู่ส่วนรวม หรือเรียนจากส่วนย่อยทีละส่วนแล้วไปสรุปเป็นกฎเกณฑ์ทีหลัง กลุ่มนี้จะกล่าวถึงการทำให้เกิดความต่อเนื่องอยู่เสมอระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และการสนองนั้นมักเป็นพฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนและวัดได้ง่าย ในปัจจุบันเท่าที่รวบรวมได้ย่อยออกเป็น 3 ทฤษฎี ดังนี้
ก. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ (Classical conditioning theory )
ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้คนแรกคือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเสนอแนวความคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ในที่นี้จะแยกกล่าวที่ละคน
1. พาฟลอฟ (Pavlov)
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
พาฟลอฟ เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันจะไม่ค่อยสนองเช่นนั้นเลย เช่น สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งน้ำลายจะไหล หรือคนได้ยินเสียงไซเร็นจะคิดถึงไฟไหม้เป็นต้น เสียงกระดิงหรือเสียงไซเร็นเป็นสิ่งเร้า ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาฟลอฟเรียกว่าสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned stimulus) ดังนั้น อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า กาเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตในแง่ของพาฟลอฟ คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ซึ่งหมายถึงการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คือการตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 สิ่งในลักษณะเดียวกัน และไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออก การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะว่าผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่งเอง
เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ผู้เขียนอธิบายความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ดังนี้
สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus เขียนย่อว่า C.S) หมายถึงสิ่งเร้าที่ใช้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยปกติสิ่งเร้านี้ตามธรรมชาติจะไม่มีการตอบสนองหรือการเรียนรู้เช่นที่ผู้วางเงื่อนไขต้องการ เช่น สุนัขโดยทั่วไปได้ยินเสียงกระดิ่ง มิได้เกิดปฏิกิริยาน้ำลายไหลเลย
การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioned response เขียนย่อว่า C.R) หมายถึงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว เช่นการแสดงอาการน้ำลายไหลของสุนัข เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง
สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned stimulus เขียนย่อ UC.S ) หมายถึง สิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ และเมื่อนำมาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้หรือการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขได้ เช่น ผงเนื้อบดเมื่อนำมาคู่กับเสียงกระดิ่งแล้วทำให้น้ำลายไหลนั่นเอง หรือกล่าวง่าย ๆ ว่าเป็นสิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติซึ่งนำมาคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข เพื่อช่วยให้เกิดการตอบสนองตามที่ต้องการในการวางเงื่อนไขนั้น ๆ
การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned response เขียนย่อ UC.R ) หมายถึงการตอบสนองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องมีการบังคับ ส่วนใหญ่เป็นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous sytem หรือ ANS) ซึ่งเป็นการทำงานโดยสมองไม่ต้องสั่งงานที่เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) เช่น น้ำตาไหล น้ำลาย ไหล ฯลฯ
หลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟเขียนแผนผังง่าย ๆ ดังนี้

การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข = การเรียนรู้

การทดลอง
จุดเริ่มต้นของการทดลอง เกิดจากการที่พาฟลอฟได้สังเกตเห็นว่า สุนัขที่เขาเลี้ยงมักมีอาการน้ำลายไหลเกิดขึ้นทุกครั้งที่เขาได้เอาผงเนื้อไปให้กิน และยางครั้งที่เขาเดินมา สุนัขได้ยินก็มีอาการน้ำลายไหลทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้อาหาร ทำให้เขาคิดว่าอาการน้ำลายไหลของสุนัขนั้นน่าจะเป็นพฤติกรรรมการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ต่อเนื่องกันระหว่างผงเนื้อบดกับเสียงคนเดิน และเนื่องจากพาฟลอฟเป็นนักสรีรวิทยา เขาจึงเห็นว่าอาการน้ำลายไหลซึ่งเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex action) ที่เกิดจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous sytem หรือ ANS) นั้นก็เกิดเป็นปฏิกิริยาการเรียนรู้อย่างหนึ่งได้
เขาจึงเริ่มทดลองโดย ก่อนทดลองเขาได้ทำการผ่าตัดง่าย ๆ ข้างกระพุ้งแก้มของสุนัขเพื่อเปิดท่อของต่อมน้ำลายให้กว้างออก และเจาะเป็นท่อไหลลงในภาชนะที่มีเครื่องหมายสำหรับตวงปริมาณของน้ำลายได้
เริ่มทดลอง เขาตั้งจุดประสงค์ว่า สุนัขจะต้องมีอาการลายไหลจากการได้ยินเสียงกระดิ่ง
การทดลองแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนวางเงื่อนไข ขั้นวางเงื่อนไขและขั้นการเรียนรูจากการวางเงื่อนไข ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ศึกษาภูมิหลังของสุนัขก่อนการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขว่าภูมิหลังหรือพฤติกรรมก่อนการเรียนรู้เป็นอย่างไร
เขาศึกษาพบว่า สุนัขจะแสดงอาการส่ายหัวและกระดิกหาง เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่จะแสดงอาการน้ำลายไหลเมื่อได้เห็นผงเนื้อบด ซึ่งแสดงได้ดังสมการ
เสียงกระดิ่ง (UCS) ส่ายหัวและกระดิกหาง (UCR)
ผงเนื้อบด (UCS) น้ำลายไหล (UCR)

จากการศึกษาภูมิหลังที่ได้ทำให้ทราบว่า พฤติกรรมก่อนการเรียนรู้ครั้งนี้สุนัขไม่ได้แสดงอาการน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง และถ้าจะให้น้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง จะต้องใช้ผงเนื้อบดเข้าช่วย โดยการจับคู่กันจึงจะทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้
ขั้นที่ 2 ขั้นวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ใส่กระบวนการเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคเข้าไปเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
เขาได้สั่นกระดิ่ง (หรือเป็นการเคาะส้อมเสียงนั้นเอง) ก่อน จากนั้นก็จะรีบพ่นผงเนื้อบดเข้าไปในปากสุนัขในเวลาต่อมาอย่างรวดเร็วทำอย่างนี้ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้สุนัขเกิดการเรียนรู้ ซึ่งแสดงสมการได้ดั้งนี้
เสียงกระดิ่ง + ผงเนื้อบด น้ำลายไหล
(CS) (UCS) (UCR)
ในการวางเงื่อนไขนี้ ใช้เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) และใช้ผงเนื้อบดเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) และอาการน้ำลายไหลในขณะวางเงื่อนไขนี้ ยังอาจเป็นการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCR) เพราะสุนัขจะน้ำลายไหลผงเนื้อบดมากกว่างเสียงกระดิ่ง
ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้จาการวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ทดสอบว่าสุนัขเรียนรู้หรือยังในวิธีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนี้ โยการตัดสิ่งเร้าที่ไม่ว่างเงื่อนไข (UCS) ออกคือผงเนื้อบดให้เหลือแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) คือเสียงกระดิ่ง ถ้าสุนัขยังน้ำลายไหลอยู่แสดงว่า สุนัขเกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคแล้ว นั่นคืออาการน้ำลายไหลเป็นการตอบสนองจากการวางเงื่อนไข (CR) นั่นเอง ดังแสดงได้จากสมการ
เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
จากการทดลองทั้ง 3 ขั้นตอนดังกล่าวบรรลุผลตามที่พาฟลอฟตั้งจุดประสงค์ไว้ คือ สามารถทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งได้ ซึ่งเป็นการแก้ข้อสงสัยที่ว่าทำไมสุนัขจึงน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงฝีเท้าของคนให้อาหาร ทั้งนี้ก็เพราะสุนัขมีการตอบสนองเชื่อมโยง จากอาหารไปสู่เสียงฝีเท้า โดยที่อาหารเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) และเสียงฝีเท้าเป็นสิ่งที่วางเงื่อนไข (CS) ซึ่งแสดงได้ดังสมการ
เสียงฝีเท้า + อาหาร น้ำลายไหล.......................................... (1)
(CS) (UCS) (UCR)
เสียงฝีเท้า น้ำลายไหล......................... (2) (CS) (CR)
จากการผลการทดลองนี้เป็นข้อยืนยันให้เห็นจริงว่า การแสดงปฏิกิริยาสะท้อนต่าง ๆ นั้นอาจใช้ในการเรียนรู้ โดยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคได้
กฎแห่งการเรียนรู้
จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลอง ทำให้พาฟลอฟสรุปออกมาเป็นกฎแห่งการเรียนรู้ต่างๆ ได้ 4 กฎด้วยกัน
1. กฎการลดภาวะ(Law of Extinction) มีสาระสำคัญดังนี้
“ ความเข้มข้นการตอบสนอง จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ถ้าให้อินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียว หรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางงเอนไขกับสิ่งเร้าที่ไมวางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้นๆ ”
เช่นการให้แต่เสียงกระดิ่ง (CS) อย่างเดียว โดยไม่ให้ผงเนื้อบด (UCS) ตามมา จะทำให้ปฏิกิริยาน้ำลายไหล (CR) ลดลงเรื่อย ๆ
2. กฎการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ (Law of Spontaneous recovery ) มีสาระสำคัญคือ
“การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (CR) ที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฏขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าอินทรีย์ มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) มาเข้าคู่ช่วย ”
เช่น การที่สุนัขน้ำลายไหลอีกได้เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดี่ยว โดยไม่ต้องมีผงเนื้อบดมาเข้าคู่กับเสียงกระดิ่ง
3. กฎการสรุปกฎเกณฑ์ (Law of Generalization ) มีสาระสำคัญ คือ
“ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิมอินทรีย์จะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น”
เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้ว เมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงระฆัง หรือเสียงฉาบ จะมีอาการน้ำลายไหลทันที
4. กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination ) มีสาระสำคัญ คือ
“ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิมอินทรีย์จะตอบสนองแตกต่างไปจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น”
เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้ว เมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงประทัด หรือเสียงปืน จะไม่มีอาการน้ำลายไหลเลย
2. วัตสัน (Watson)
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
เนื่องจากแนวความคิดของวัตสันคล้ายคลึงกับพาฟลอฟ จึงอาจกล่าวได้ว่าการเรียนรู้ในแง่ของวัตสัน ก็คือการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) ถ้ายังมีการตอบสนองกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) เพื่อให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการ คือการเรียนรู้นั่นเอง และการที่จะทราบว่าการวางเงื่อนไขแบบคลาสิคได้ผลหรือไม่ ก็คือ การตัดสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) อย่างเดียวออกให้เหลือแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) ถ้ายังมีการตอบสนองเหมือนเดิม ที่ยังมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขอยู่แสดงว่าการวางเงื่อนไขได้ผล
สิ่งที่เพิ่มเติมในหลักการเรียนรู้ของวัตสัน คือ แทนที่จะทดลองกับสัตว์ เขากลับใช้ทดลองกับคน ซึ่งเมื่อทดลองกับคนก็มักจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง วัตสันกล่าวว่า อารมณ์ของมนุษย์ที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ได้แก่อารมณ์รัก ไม่พอใจ และกลัว โดยเฉพาะอารมณ์กลัว วัตสันกล่าวว่า การเกิดอารมณ์กลัวต่อสิ่งเร้าบางอย่างตามธรรมชาติอยู่แล้วนั้นอาจจะทำให้กลัวสิ่งเร้าอื่นที่มีอยู่รอบ ๆ อินทรีย์อีกได้จากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค โดยให้สิ่งเร้าที่มีความกลัวตามธรรมชาติเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) ให้สิ่งเร้าอื่นที่ต้องการให้เกิดความกลัว เป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) มาคู่กันบ่อยๆ เข้า ในที่สุดก็จะเกิดความกลัวในสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขได้
นอกจากนี้ วัตสันยังพบว่า เมื่อทำให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ ก็ย่อมสามารถลบพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้ ดังกล่าวต่อไปในการทดลอง
การทดลอง
วัตสันได้ทำการทดลองร่วมกับ เรย์เนอร์ (Rosalie Rayner) โดยการทดลองกับเด็กชายชื่ออัลเบิร์ต อายุประมาณ 11 เดือน
จุดประสงค์ของการทดลอง คือการให้เด็กชายอัลเบิร์ตกลัวหนูขาว และเมื่อกลัวหนูขาวแล้ว ก็ลบพฤติกรรมกลัวหนูขาวให้กลับมาเล่นกับหนูขาวอีกได้ ดังนั้น การทดลองจึงแบ่งเป็น 2 ตอน คือ
การทดลองที่ 1 การให้เกิดพฤติกรรมการกลัวหนูขาว แบ่งขั้นการทดลองออกเป็น 3 ขั้น (เช่นเดียวกับของพาฟลอฟ) ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนวางเงื่อนไข เป็นการศึกษาภูมิหลังของปฏิกิริยาหรืออารมณ์ของอัลเบิร์ตที่มีต่อหนุขาว และสิ่งที่เขากลัวตามธรรมชาติ พบว่าเด็กชายอัลเบิร์ตสามารถจับต้องลูบคลำเล่นกับหนูขาวได้ แต่จะร้องตกใจเมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
หนูขาว (UCS) จับต้อง เล่น (UCR)
เสียงดังน่ากลัว (UCS) ร้องตกใจกลัว (UCR)
จากขั้นที่ 1 ทำให้ทราบว่า หนูขาวใช้เป็นสิ่งที่วางเงื่อนไขให้กลัวได้ เพราะในธรรมชาติอัลเบิร์ตมิได้กลัวหนูขาวเลย
ขั้นที่ 2 ขั้นวางเงื่อนไขหรือกระบวนการการเรียนรู้ เป็นการนำสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) คือหนูขาว มาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) คือเสียงดังน่ากลัว เพื่อให้อัลเบิร์ตเกิดพฤติกรรมกลัวหนุขาวได้ ดัง สมการ
หนูขาว + เสียงดังน่ากลัว ร้องไห้ตกใจกลัว
(CS) (UCS) (UCR)
ขั้นที่สองนี้ต้องให้เห็นหนูขาวก่อน แล้ววัตสันจึงค่อยทำให้เกิดเสียงดังน่ากลัว เมื่ออัลเบิร์ต ทำท่าจะเอื้อมมือไปเล่นกับหนูขาวทุกครั้ง ทำซ้ำ ๆ เช่นนี้ประมาณ 5ครั้ง
ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ทดสอบเพื่อต้องการทราบว่าเกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขแบบคลาสิคหรือยัง โดยการตัดสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) คือเสียงดังน่ากลัว ให้เหลือแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดีดังนี้
หนูขาว (CS) ร้องไห้ตกใจกลัว (CR)
สรุปการทดลองที่ 1 อัลเบิร์ตกลัวหนูขาว
การทดลองที่ 2 การลบพฤติกรรมการกลัวหนูขาว แบ่งขั้นตอนการทดลองออกเป็น 3 ขั้น เช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนวางเงื่อนไข เป็นขั้นศึกษาภูมิหลังว่า อัลเบิร์ตมีความกลัวหรือหายกลัวสิ่งต่าง ๆ เมื่ออยู่ในสถานการณ์อย่างไร จากการศึกษาภูมิหลังพบว่า อัลเบิร์ตจะหายกลัวเมื่อมีมารดาอยู่ใกล้ ๆ โดยการอุ้มชูกอดรัดไว้ เขียนสมการได้ดังนี้

มารดา (อุ้มชูกอดรัด) เกิดความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยหายกลัว
(UCS) (UCR)
ขั้นที่ 2 ขั้นวางเงื่อนไขเพื่อให้เลิกกลัวหนูขาว เป็นขั้นใส่กระบวนการเรียนรู้ คือ การวางเงื่อนไขลงไป เพื่อลบพฤติกรรมการกลัวหนูขาว โดยเอาหนูขาว (CS) มาคู่กับมารดา (UCS) ซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง มากกว่า 5 ครั้งขึ้นไป เพื่อให้อัลเบิร์ตเลิกกลัวหนูขาว ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
หนูขาว + มารดา เลิกกลัวหนูขาว จนกล้าเอื้อมมือไปจับต้องเล่นกับหนูขาวอีกได้
(CS) (UCS) (UCR)
ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้จากากรวางเงื่อนไขแล้ว เป็นขั้นที่ต้องการทดลองว่าอัลเบิร์ตเลิกกลัวหนูขาวได้หรือไม่ โดยการตัดสิ่งเร้าไม่วางเงื่อนไข (UCS) คือมารดาออกไป ถ้าอัลเบิร์ตสามารถเล่นกับหนูขาวได้ แสดงว่าการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคสามารถลบพฤติกรรมได้ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
หนูขาว เลิกกลัว จับต้องเล่นกับหนูขาวได้
(CS) (CR)
จากผลการทดลองของวัตสันนี้เอง ทำให้เขาถูกโจมตีมากว่ามองบุคคลเป็นเสมือนเครื่องจักร ที่ต้องการสร้างให้เกิดอะไรขึ้นหรือพฤติกรรมนั้น ๆ ออกได้ โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมจรรยา และความรู้สึกของคน
อย่างไรก็ตามจากแนวคิดของวัตสัน สามารถทำให้เราเข้าใจและอธิบายอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาในบุคคลหนึ่ง ๆได้ เช่น ทำไมบางคนจึงกลัวสุนัข เพราะเคยถูกสุนัจกัดจนเจ็บปวด จึงกลัวสุนัขเพราะกลัวความเจ็บปวดอีก เขียนไดอะแกรมได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนวางเงื่อนไข
สุนัข (UCS) ไม่กลัว (UCR)
ความเจ็บปวด (UCS) กลัว (UCR)
ขั้นที่ 2 ขั้นวางเงื่อนไข
สุนัข + ความเจ็บปวด กลัว
(CS) (UCS) (UCR)
ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้
สุนัข กลัว
(CS) (CR)
กฎการเรียนรู้
เนื่องจากแนวความคิดของพาฟลอฟและวัตสันนั้นคล้ายคลึงกัน ดังนั้นกฎการเรียนรู้จึงมีลักษณะเดียวกัน คือ แบ่งออกเป็น 4 กฎ ได้แก่
1. กฎการลดภาวะ (Law of Extinction)
2. กฎการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ (Law of Spontaneous recovery )
3. กฎการสรุปกฎเกณฑ์ (Law of Generalization )
4. กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination )
ซึ่งสาระสำคัญในแต่ละกฎ กล่าวไว้แล้วในหัวข้อกฎการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ในที่นี้หมายถึง การนำหลักการเรียนรู้และกฎการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ทั้งของพาฟลอฟและวัตสันมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือแก้ปัญหาบางอย่างในการเรียนการสอนได้ดังนี้
การนำหลักการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้
ใช้สร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาต่าง ๆ ได้ เช่น การทำให้เด็กชอบวิชาคณิตศาสตร์ การทำให้เด็กกล้าพูดกล้าแสดงออก หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เราต้องการได้เป็นต้น
ตัวอย่างการทำให้เด็กชอบวิชาคณิตสาสตร์ สามารถเขียนเป็นไดอะแกรมได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนวางเงื่อนไข
วิชาคณิตสาสตร์ (UCS) เด็กไม่ชอบ (UCR)
คนสอนช้า ๆ ครูใจดีเป็นกันเองกับเด็ก(UCS) เด็กชอบ (UCR)
จากการศึกษาภูมิหลัง พบว่า เด็กชอบครูที่เป็นกันเองกับเด็ก ใจดีและพูดช้าเข้าใจง่าย
ขั้นที่ 2 ขั้นวางเงื่อนไข
วิชาคณิตสาสตร์ + คนสอนช้า ๆ ครูใจดีเป็นกันเองกับเด็ก เด็กชอบ
(CS) (UCS) (UCR)
ทุกครั้งที่สอนคณิตศาสตร์ ครูต้องเป็นกันเองกับเด็ก สอนช้า ๆ ให้เด็กเข้าใจ ทำเช่นนี้บ่อย ๆ ในที่สุดเด็กก็จะชอบเรียนคณิตศาสตร์
ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข
วิชาคณิตสาสตร์ เด็กชอบ
(CS) (CR)
ถ้าตัดครูใจดีออกเอาครูอื่นมาสอน เด็กก็ยังชอบวิชาคณิตศาสตร์อยู่ แสดงว่าการวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา คือ เด็กชอบวิชาคณิตศาสตร์
การนำกฎการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้
1. การนำกฎการลดภาวะมาใช้ โดยการที่ผู้สอนต้องตระหนักเสมอว่า การให้ผู้เรียนเรียนแต่บทเรียนอย่างเดียวบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายซ้ำซาก จำเจ ควรมีการแทรกสิ่งที่เขาชอบเข้าไปบ้าง เพื่อให้เกิดความอยากเรียนขึ้นอีก เป็นการป้องกันมิให้เกิดการลดภาวะในพฤติกรรมที่พึงปรารถนาได้ หรือพูดง่ายๆ หลังจากการเรียนรู้แล้ว การเสนอบทเรียนซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ซ้ำซาก ต้องแทรกสิ่งที่ผู้เรียนชอบ (ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข หรือ (UCS) เข้าไปบ้าง)
2. การนำกฎการสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไปมาใช้ โดยการสอนนั้นพยายามนำเอาสิ่งที่คล้ายคลึงกันกับการเรียนรู้ครั้งแรกมาอธิบายเปรียบเทียบให้ฟัง เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น เช่น การอธิบาย คำว่า เปรี้ยว ครั้งแรกเขาเริ่มเรียนรู้คำว่าเปรี้ยวมาจากมะขาม หลังจากนั้นก็อธิบายว่า มะยม มะดัน มะนาว ฯลฯ ก็มีรสเปรี้ยวเหมือนมะขาม เขาจะเข้าใจรสเปรี้ยวของสิ่งอื่น ๆ ดังกล่าวได้ทันที
3. การนำกฎการจำแนกความแตกต่างมาใช้ โดยการสอนให้เข้าใจความหมายของสิ่งที่เรียนรู้ครั้งแรกให้เข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วจึงอธิบายความแตกต่างของสิ่งเร้าอื่นว่าแตกต่างจากสิ่งเร้าแรกอย่างใด เช่น คำว่า เปรี้ยว เมื่อเข้าใจแล้ว ก็อธิบายคำว่า น้ำตาล มีรสหวาน แตกต่างจากรสเปรี้ยวเช่นไร เช่น เอามะนาวมาแทนคำว่าเปรี้ยว น้ำตาลแทนคำว่าหวาน เป็นต้น
3. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี (Guther ’ s Contiguous Conditionging theory )
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
กัทธรีกล่าวว่าการเรียนรู้ของอินทรีย์เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยเกิดจาการกระทำเพียงครั้งเดียว (One – trial Learning) มิต้องลองทำหลายๆ ครั้ง เขาเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแสดงว่าอินทรีย์เรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ปรากฏในขณะนั้นทันที และเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างสมบูรณ์ไม่จำเป็นต้องฝึกหัดอีกต่อไป เขาค้านว่าการฝึกในครั้งต่อไปไม่มีผลให้สิ่งเร้าและตอบสนองสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นขึ้นเลย (ซึ่งแนวความคิดนี้ตรงกันข้ามกับแนวความคิดของธอร์นไดค์ที่กล่าวว่าการเรียนรู้จะเกิดจากการลองผิดลองถูกโดยการกระทำการตอบสนองหลาย ๆอย่างๆ และเมื่อเกิดการเรียนรู้ คือการแก้ปัญหาแล้วจะต้องมีการฝึกหัดให้กระทำซ้ำบ่อย ๆ )
กัทธรี กล่าวว่า สิ่งเร้า ที่ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขที่แท้จริง
การทดลอง
กัทธรีและฮอร์ตัน (Horton) ได้ร่วมกันทดลองการเรียนรู้แบบต่อเนื่องโดยใช้แมวและสร้างกล่องปัญหาขึ้นซึ่งมีลักษณะพิเศษคือมีกล้องถ่ายภาพยนตร์ติดตั้งไว้ที่กล่องปัญหาด้วย นอกจากนี้ยังมีเสาเล็ก ๆ อยู่กลางกล่อง และมีกระจกที่ประตูทางออก
จุดประสงค์ของการทดลอง คือต้องการรู้รายละเอียดเกี่ยวกับอาการเคลื่อนไหวของแมว (ซึ่งคาดว่า เมื่อแมวเข้ามาทางประตูหน้า ถ้าแมวแตะที่เสาไม่ว่าจะแตะในลักษณะใดก็ตาม ประตูหน้าจะเปิดออกและแมวจะหนีออกจากล่องปัญหา ซึ่งพฤติกรรมทั้งหมดจะได้รับการบันทึกด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์ซึ่งจะเริ่มถ่ายตั้งแต่ประตูเริ่มปิดจนกระทั่งแมวออกไปพ้นจากกล่องปัญหา)
ในการทดลอง กัทธรี จะปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปัญหา แมวจะหาทางออกประตูข้างหน้า ซึ่งเปิดแง้มอยู่ โดยมีปลาแซลมอน วางไว้บนโต๊ะที่อยู่เบื้องหน้าก่อนแล้ว ตลอดเวลาในการทดลอง กัทธรีจะจดบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของแมวตั้งแต่ถูกปล่อยเข้าไปในกล่องปัญหาจนหาทางออกจากกล่องได้
ผลที่ได้จากการทดลอง สรุปได้
1. แมวบางตัวจะกัดเสาหลายครั้ง
2. แมวบางตัวจะหันหลังชนเสาและหนีจากล่องปัญหา
3. แมวบางตัวอาจใช้ขาหลังชนเสาและหมุนรอบๆเสา
ตามหลักการเรียนรู้ กัทธรี สรุปว่า
1. แมวบางตัวมีแบบแผนการกระทำหลายแบบที่หนีจากล่อง อาการเคลื่อนไหวครั้งสุดท้ายที่ประสบผลสำเร็จ จะเป็นแบบแผนที่แมวจะยึดถือในการแก้ปัญหาครั้งต่อไป
2. แมวบางตัวมีแบบแผนหนีเพียงแบบเดียว และใช้วิธีนั้นนาน ๆ จนกว่าจะเปลี่ยนสิ่งเร้าที่จะทำให้เรียนรู้หรือแก้ปัญหาใหม่
กัทธรีมีความเห็นว่า แมวเขาที่ใช้ทดลอง ทำแบบที่เคยทำไม่สำเร็จก็จะเปลี่ยนวิธีใหม่ถ้าแบบใหม่ประสบผลสำเร็จแมวก็จะยึดแบบนั้นไว้ นั่นคือ อินทรีย์จะเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา จากการกระทำครั้งสุดท้ายที่ได้ผลเพียงครั้งเดียว โดยมิต้องกระทำซ้ำบ่อยๆ และหลาย ๆ แบบ
กฎการเรียนรู้
กัทธรีกล่าวว่า พฤติกรรมมีสิ่งเร้าควบคุม และการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองจะเปลี่ยนไปตามเกณฑ์ เขายอมรับว่าพฤติกรรมหลายอย่างมีจุดมุ่งหมาย พฤติกรรมใดที่ทำซ้ำๆ เกิดจากกลุ่มสิ่งเร้าเดิมมาทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้นอีก
กัทธีจึงได้สรุปการเรียนรู้ต่าง ๆไว้ดังนี้
1. เมื่อสิ่งเร้า กลุ่มหนึ่งที่เกิดพร้อมกับอาการเคลื่อนไหว เมื่อมีสิ่งเร้านั้นเกิดขึ้นอีกอาการเคลื่อนไหวเดิมก็มีแนวโน้มที่จะเกิดตามมาด้วย เช่น เมื่อมีงูมาปรากฏต่อหน้าเด็กชาย ก . จะกลัวและวิ่งหนี ทุกครั้งที่เห็นงูเด็กชาย ก . ก็จะกลัวและวิ่งหนีเสมอ ฯลฯ
2. หลักของการกระทำครั้งสุดท้าย (Recency) ถ้าการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์จากการกระทำเพียงครั้งเดียวซึ่งเป็นการกระทำครั้งสุดท้ายในสภาพการณ์นั้น เมื่อสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้นอีกบุคคลจะกระทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้าย ไม่ว่าการกระทำครั้งสุดท้ายจะผิดหรือถูกก็ตาม
3. หลักการแทนที่ (Principle of Substitution) ซึ่งกำหนดไว้ว่าถ้าสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) มาเร้าให้อินทรีย์ตอบสนองได้ แม้เพียงครั้งเดียว ต่อมาใช้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) มาแทน UCS ก็จะเกิดการตอบสนองเช่นเดียวกัน
4. ในการทำให้เกิดการเรียนรู้นั้น กัทธรีเน้นการจูงใจ (Motivation) มากกว่าการเสริมแรงซึ่งมีแนวความคิดเช่นเดียวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟและวัตสัน

การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1. การนำหลักการเรียนรู้ไปใช้ จากหลักการเรียนรู้ที่ว่าการเรียนรู้เกิดจากการกระทำหรือการตอบสนองเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องลองกระทำหลายๆครั้ง หลักการนี้น่าจะใช้ได้ดีในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และผู้มีประสบการณ์เดิมมากกว่าผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์เลย
2. ถ้าต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้ควรใช้การจูงใจ เพื่อทำให้เกิด พฤติกรรมมากกว่าการเสริมแรง
3.เนื่องจากแนวความคิดของกัทธรีคล้ายคลึงกับแนวความคิดของวัตสันมาก ดังนั้น การนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนก็เป็นไปในทำนองเดี่ยวกันกับทฤษฎีของวัตสันนั้นเอง
4. กัทธรีเชื่อว่าการลงโทษมีผลต่อการเรียนรู้ คือทำให้อินทรีย์กระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาแยกการลงโทษออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
4.1 การลงโทษสถานเบา อาจทำให้ผู้ถูกลงโทษมีอาการตื่นเต้นเพียงเล็กน้อยแต่ยังคงแสดงพฤติกรรมเดิมต่อไปอีก
4.2 การเพิ่มการลงโทษ อาจทำให้ผู้ถูกลงโทษเลิกแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาได้
4.3 ถ้ายังคงลงโทษต่อไป การลงโทษจะเปรียบเสมือนแรงขับที่กระตุ้นให้อินทรีย์ตอบสนองต่อสิ่งเร้า จนกว่าอินทรีย์จะหาทางลดความเครียดจากแรงขับที่เกิดขึ้น กัทธรีกล่าวว่า การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดจากการได้รับรางวัลที่พอใจ
4.4 ถ้าเกิดพฤติกรรมที่ไม่ดี คือพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา แล้วลงโทษจะทำให้พฤติกรรมอื่นเกิดตามมาหลังจากถูกลงโทษ จึงควรขจัดพฤติกรรมที่ไม่ดีเสียก่อน ก่อนที่จะลงโทษ
2.6 ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเรียนรู้
การที่ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ดีหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. แรงขับ (Drive)
หมายถึงแรงผลักดันที่เกิดขึ้นในร่างกายเพื่อทำให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมบางอย่างตอบสนองต่อสิ่งเร้า แรงขับนี้เกิดขึ้นเมื่อมีภาวะความไม่สมดุลทางร่างกาย เช่น ความ หิว ความกระหาย เป็นต้น ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อให้เกิดภาวะความสมดุลอีกครั้งหนึ่ง ได้แก่เมื่อเกิดความหิว ร่างกายจะไปหาอาหาร เมื่อกระหายน้ำจะไปหาน้ำ
แรงขับนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประการ คือ
1.1 แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลภายในร่างกาย จากสิ่งเร้าภายใน เช่น ความหิว ความกระหาย
1.2 แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากความไม่สมดุลของร่างกาย จากสิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ การขาดความรัก ความต้องการมีชื่อเสียง เป็นต้น
ดอลลาร์และมิลเลอร์ ได้ให้ความสำคัญต่อแรงขับนี้มาก โดยกล่าวว่าอินทรีย์จะเกิดการเรียนรู้ได้ดีถ้าสร้างให้เกิดแรงขับมาก ๆ โดยเฉพาะแรงขับปฐมภูมิ
2. ความพร้อม (Readiness)
หมายถึง สภาพความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ที่พร้อมจะตอบสนองต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทางด้านร่างกายได้แก่วุฒิภาวะ ซึ่งหมายถึง การเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ของอวัยวะของร่ากาย ทางด้านจิตใจได้แก่ความพอใจที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือพอใจที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ในทฤษฎีของธอร์นไดค์ได้กล่าว ถึง กฎแห่งความพร้อม ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นดีที่สุด เมื่อผู้เรียนมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจที่จะเรียนแล้วได้เรียนรู้จริงๆ
องค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดความพร้อมในการเรียน ได้แก่
1. วุฒิภาวะ หมายถึง การเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย จิตใจ เชาว์ปัญญา และอารมณ์
2. ประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิม ผู้ที่มีประสบการณ์เดิมมากเท่าใด ย่อมมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ได้ดีกว่าผู้มีประสบการณน้อยเท่านั้น ดังนั้นก่อนสอนครูควรทราบว่าเด็กมีประสบการณ์เดิมมากน้อยเพียงใด
3. การจัดบทเรียนของครู ถ้าครูจัดบทเรียนโดยถือความสามารถของเด็กเป็นหลัก จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดีกว่า การถือเอาเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
4. การสอนของครู ครูควรคำนึงถึงความพร้อมของเด็ก โดยค่อยๆ สอนตามความสามารถของผู้เรียน มากกว่าการเร่งสอนเพื่อให้จบเนื้อหาของหลักสูตรโดยเร็ว จนเด็กเรียนตามไม่ทัน การเรียนรู้ก็เกิดขึ้นได้ยาก
การฝึกให้เกิดความพร้อมในการเรียน สามารถทำได้ดังนี้
1. การสอนความรู้พื้นฐานสำหรับวิชานั้น ๆ เสียก่อน เช่น สอนวิชาจิตวิทยาทั่วไปเสียก่อน แล้วจึงสอนวิชาจิตวิทยาการศึกษา
2. การสร้างความสนใจให้เกิดขึ้นกับเด็ก เมื่อใดที่เด็กแสดงความไม่สนใจแสดงว่าเด็กยังไม่พร้อมที่จะเรียน ควรมีการนำเข้าสู่บทเรียน เช่น เล่านิทาน
3. การส่งเสริมให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง เพื่อให้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้หรือแก้ปัญหาได้ด้วยความมั่นใจ
3. การเสริมแรง (Reinforcement)
หมายถึง การทำให้อินทรีย์เกิดความพอใจหลังจากแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้แล้ว การทำให้เกิดความพอใจนี้อาจเป็นการให้สิ่งเร้าที่ชอบ อาทิ คำชมเชย รางวัล ฯลฯ หรือการนำสิ่งที่อินทรีย์ไม่พอใจออกไปเสีย เช่น เสียงดังหนวกหูที่รบกวนในขณะเรียน สิ่งที่เป็นโทษแก่ผู้เรียนฯลฯ
4. การจูง ใจ (Motivation)
หมายถึงการกระตุ้นหรือล่อให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นด้วยสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง เช่น การใช้อาหารล่อแมวกดคานเปิดประตูออกมาจากรงเพื่อกินอาหาร เป็นต้น
การจูงใจประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 2 ส่วน
1. แรงจูงใจ (Motive)ได้แก่ ความต้องการ ความสนใจ ทัศนคติ ลักษณะนิสัย ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดภายในร่างกาย
2. สิ่งจูงใจหรือเครื่องล่อ (Incentive) ได้แก่ สิ่งเร้าต่างๆ ที่อยู่ภายนอกร่างกาย ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางของพฤติกรรม
ประเภทของแรงจูงใจ
ก) ถ้าแบ่งตามที่มาของแรงจูงใจ แบ่งออกได้เป็น 2ประเภท คือ
1. แรงจูงใจทางร่างกาย เป็นแรงจูงใจที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งเกิดจากความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ ความหิว ความกระหาย ความต้องการทางเพศ ฯลฯ
2. แรงจูงใจทางสังคม เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นทีหลังจากการเรียนรู้ในสังคม ได้แก่ความต้องการความรัก ความอบอุ่น การเป็นที่ยอมรับทางสังคม ฯลฯ
ข) ถ้าแบ่งตามเหตุผลของเบื้องหลังในการแสดงออกของพฤติกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. แรงจูงในภายใน หมายถึง การที่บุคคลมองเห็นคุณค่าที่จะทำด้วยความเต็มใจ เชื่อกันว่าถ้าผู้เรียนเกิดแรงจูงใจประเภทนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด ดังนั้นครูควรพยายามสร้างแรงจูงใจประเภทนี้ให้เกิดขึ้นมากที่สุด ได้แก่ การอยากเรียน เพราะต้องการเป็นผู้มีความรู้
2. แรงจูงใจภายนอก หมายถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรม เพราะต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่นำมาเร้าภายนอก เช่น รางวัล เกรด เป็นต้น
แรงจูงใจภายในมีคุณค่าดีกว่าแรงจูงใจภายนอก แต่แรงจูงใจภายนอกปลูกฝังให้เกิดแก่ผู้เรียนได้ยากกว่า ดังนั้นในการใช้แรงจูงใจกับเด็กมักใช้แรงจูงใจภายนอกเสียก่อน แล้วจึงสร้างแรงจูงใจภายในทีหลัง
ดี เซคโก (De Ceceo) กล่าวว่า การทำให้อินทรีย์ได้รับการจุงใจนั้น คือ การทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. การตื่นตัว หมายถึงระดับการตื่นเต้นของร่างกาย ได้แก่ ความกระตือรือร้น ความรับผิดชอบ การตื่นเต้น และความระแวดระวัง เฮบบ์ (Donald Hebb : 1955) กล่าวว่า การตื่นตัวเปรียบเสมือนการทำให้เกิดพลัง โดยแบ่งระดับการตื่นตัวออกเป็น 3 ระดับ เรียงจากระดับสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ ความกระวนกระวาย ความกระตือรือร้น และการนอนหลับ การตื่นตัวระดับสูงสุดคือ ความกระวนกระวายทำให้เกิดการเรียนรู้ดีที่สุด
2. การคาดหวัง หมายถึงการที่อินทรีย์คาดว่าจะได้รับหรือประสบสิ่งเร้าที่พอใจอีก ดังนั้น ถ้ากระตุ้นให้อินทรีย์มีการคาดหวังมากเท่าใด ย่อมมีแนวโน้มที่อยากจะเรียนรู้มากเท่านั้น
3. สิ่งล่อใจ เป็นอินทรีย์ต้องได้รับจริงๆ เมื่อถึงจุดมุ่งหมายปลายทางคือการเรียนรู้ ดังนั้น สิ่งล่อใจควรเป็นสิ่งที่อินทรีย์พอใจ และต้องการมากจริง ๆ จึงจะเกิดการเรียนรู้ดีที่สุด ซึ่งต้องศึกษาภูมิหลังของแต่ละบุคคลที่มีความพอใจในสิ่งเร้าต่าง ๆ แตกต่างกัน
4. การลงโทษ ดีเซคโก ถ้าบางครั้งจำเป็นต้องใช้การลงโทษ มักใช้วิธีไม่ให้ได้รับสิ่งเร้านั้นมากกว่า จนกว่าจะแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ ดังเช่น การทดลองของโซโลมอน (Solom : 1946) พบว่า ในการใช้การลงโทษโดยการให้หลีกหนีไปจากการลงโทษกับการหลีกเลี่ยงไม่ได้สิ่งเร้านั้นตามที่ต้องการ พบว่าอินทรีย์เลือกวิธีไม่ได้รับสิ่งเร้ามากกว่า
3.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมเสรี
3.1 ความหมายของการจัดกิจกรรมเสรี
กรมวิชาการ (2540 ข : 1 ) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียน ที่จัดภายในห้องเรียน เพื่อช่วยให้เกิดกาเรียนรู้เกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมดนตรี มุมวิทยาศาสตร์ มุมหมอ มุมร้านค้า มุมเล่นน้ำ เป็นต้น สามารถจัดได้ตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพของห้องเรียนและเนื้อหาตามแผนการจัดประสบการณ์ เช่น อาจจะขยาย ลด ขนาดของพื้นที่ในแต่ละมุมได้ตามความเหมาะสม
สรุปคือ เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เลือกเล่นเองตามความสนใจ ตามมุมที่จัดเตรียมไว้แต่ในการจัดกิจกรรมเสรีต้องให้เด็กได้ปฏิบัติตามวิธีที่เลือกสรรให้ เพื่อนำไปสู่ทางพัฒนาการร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
หนังสือหลักสูตร การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย (197) กิจกรรมเสรี หมายถึง เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่น อย่างอิสระตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมธรรมชาติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กมีโอกาสเลือกเล่น ได้อย่างอิสระตามความสนใจ และความต้องการของเด็ก ซึ่งในการเล่นตามมุมนี้เด็กอาจจะเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มย่อยก็ได้

3.2 ความสำคัญการจัดกิจกรรมเสรี
กรมวิชาการ (2540 ก : 10 ) ได้กล่าวถึงความสำคัญและความจำเป็นของการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายสำหรับเด็กในวัยนี้ เพราะมีผลต่อการพัฒนาความเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ กระดูก ขนาดของร่างกาย ระบบประสาทต่าง ๆ นอกจากจะมีผลดีต่อพัฒนาการทางร่างกายแล้ว ยังมีผลต่อการพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เด็กในช่วงอายุ 4 -6 ปี ชอบการเคลื่อนไหวตนเองตลอดไม่อยู่นิ่ง เด็ก

3.3 วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเสรี
1. ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และประสาทสัมพันธ์ระหว่างมีกับตา
2. ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
3. ฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบในการทำงานและความมีระเบียบวินัย
4. ฝึกและส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดแก้ปัญหา การคิดอย่างมีเหตุผล
5. ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาและให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กพัฒนาทางด้านภาษาและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
7. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิด วางแผน และตัดสินใจในการทำกิจกรรม
8.ส่งเสริมให้เด็กรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักรอคอย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้อภัย
9.ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ละสิ่งแวดล้อม
3. 3 ขอบข่าย – เนื้อหาของกิจกรรมเสรี
1. แนะนำมุมเล่นใหม่ให้เด็กรู้จักและเสนอแนะวิธีใช้ / เล่นเครื่องเล่นบางชนิด เช่น แว่นขยาย เครื่องชั่ง เครื่องเล่นสัมผัสบางชนิด
2. เด็กและผู้เลี้ยงดูเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการเล่น เช่น ไม่นำของเล่นแต่ละมุมมาเล่นปนกัน เก็บของเล่นเข้าที่ทุกครั้งเมื่อจะเปลี่ยนเล่นของเล่นชนิดอื่น ตกลงสัญญาก่อนหมดเวลาเล่น เพื่อเตรียมเก็บของเข้าที่ เช่น การบอกเตือนด้วยวาจา การใช้เพลง ฯลฯ
3. ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด วางแผน ตัดสินใจเลือกเล่นอย่างอิสระในมุมเล่น หรือเลือกทำกิจกรรมที่จัดขึ้นตามความสนใจของเด็กแต่ละคน ขณะเด็กเล่น / ทำงาน ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจชี้แนะและมีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็กได้หากพบว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือ และคอยสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็กพร้อมทั้งจดบันทึกพฤติกรรมที่น่าสนใจเพื่อดูว่าเด็กมีพัฒนาการแต่ละด้านเป้นอย่างไร
4. เตือนให้เด็กทราบล่วงหน้าก่อนหมดเวลาเล่น ประมาณ 5 – 1 0นาที
5. ให้เด็กเก็บของเล่นเข้าที่ให้เรียบร้อยทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการศึกษาเรียนรู้โดยใช้การวิจัยในชั้นเรียน (Action Research the classroom ) รวบรวมข้อมูลด้วยการบันทึกพฤติกรรมเชิงคุณภาพจากการจัดกิจกรรมเสรีบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมจากการลงมือปฏิบัติ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
4. แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุระหว่าง
4 -5 ปี จำนวน 5 ห้อง นักเรียนทั้งหมดมีจำนวน 150 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 5 ห้อง จำนวน 100 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย-หญิงอายุระหว่าง 4 - 5 ปี
ชั้นอนุบาลที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยสุ่มเด็ก ห้องเรียน 1 ห้องเรียน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังนี้
1. แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. แบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างขึ้น
3. แบบบันทึกพฤติกรรมและคำพูดเด็ก
4. อุปกรณ์และสื่อที่ใช้ในการจัดมุมเสรี
3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
3.1 การสร้างแผนการจัดกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีลำดับขั้นตอนต่อไปนี้
1 . ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ นภัสวรรณ ชื่นฤดี (2550 ) พระขวัญชัย เกตุธรรมโม (2546) และสมพร พงษ์เสถียรศักดิ์ (2546)
2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสรี ของหลักสูตรการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และ พัชราภรณ์ ภูกองไชย (2546)
3. ผู้วิจัยสร้างแบบแผนการจัดกิจกรรมเสรีบนพื้นบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.1.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : 2542)
3.1.2 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีขั้นในในการสร้างแผนดังนี้
3.1.2.1 ชื่อกิจกรรม
3.1.2.2 จุดประสงค์ของการทำกิจกรรม
3.1.2.3 เนื้อหา
3.1.2.4 การบูรณาการกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.1.2.5 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
3.1.2.6 สื่อและอุปกรณ์ประกอบการทำกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.1.2.7 ขั้นตอนการประเมินผล
4. นำแผนการจัดกิจกรรมกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมโดยใช้เกณฑ์การตัดสิน 2 ใน 3 ท่านของผู้เชี่ยวชาญที่มีความคิดเห็นตรงกัน ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญดังนี้
1. อาจารย์พรรัก อินทาระ อาจารย์ประจำวันสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนสิต
2. อาจารย์กันตวรรณ มีสมสาร ผู้จัดการโรงเรียนกันตนวรรณ
3. อาจารย์พนิดา ชาตยาภา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูถัมภ์
ผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ 2 ใน 3 ท่าน มีความเห็นตรงกัน คือ.......
หรือเท่ากับ 0.5 จึงถือว่าใช้ได้ (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ . 2526 : 89 ) ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ในนี้แต่ข้อได้ความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ IOC = 1.00
5. นำแผนการจัดกิจกรรมกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
6 นำแผนการจัดกิจกรรมเสรีที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วไปจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ แล้วนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง
3.2 ขั้นตอนในการสร้างกรอบการสังเกตคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการต่างๆ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2 .ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในข้อ 1 มาสงเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณลักษณะของเด็กตามระดับอายุ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน
3 หมายถึง การแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้งหรือจนเป็นปกตินิสัย
2 หมายถึง การแสดงพฤติกรรมบ้างเป็นครั้งคราว
1 หมายถึง การแสดงพฤติกรรมน้อยมากหรือแทบจะไม่ปรากฎ
3. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ข้อ 1 และข้อ 2 มาสร้างแบบสังเกตคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยบน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ผู้วิจัยได้จัดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย มาใช้ในการสร้างแบบสังเกต
4. นำแบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจความเที่ยงเชิงเนื้อหาของแบบสังเกต จำนวน 3 ท่าน
1. อาจารย์พรรัก อินทาระ อาจารย์ประจำสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนสิต
2. อาจารย์กันตวรรณ มีสมสาร ผู้จัดการโรงเรียนกันตนวรรณ
3. อาจารย์เนาวรัตน์ เกิดพิบูลย์ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลธรรมศาสตร์ฯ
ผลการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านลงรวมความเห็นและให้คะแนนรวม โดยใช้เกณฑ์ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. นำแบบสังเกตและคู่มือดำเนินการสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 ใน 3 ท่าน
6. ปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญที่สอดคล้องกันอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน เพื่อแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา แล้วนำคะแนนที่ได้จากการลงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ ICO มากกว่าหรือเท่าหรือเท่ากับ0.5 จึงถือว่าใช้ได้ (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ .2526 : 89 ) ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ในแต่ข้อได้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์
6. นำแบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลองที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก เพื่อนำไปแปรผลต่อไป
4. แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest Design (ล้วน สานยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 249)

Tuesday, October 21, 2008

โครงการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา

ภาพถ่ายการจัดทำโครงการ


ภาพที่ 1 เด็ก ๆ และผู้จัดโครงได้ถ่ายรูปภาพการแจกรางวัลที่เด็กได้จากแต้มสะสมความดีว่าเด็ฏ ๆ ได้ของราววัลอะไรบ้างจากการเข้าร่วมโครงการ


ภาพที่ 2 เด็ก ๆ กำลังช่วยกันเก็บที่นอนหลังตื่นนอนภาพนี้แสดงถึงพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เป็นข้อตกลงในการจัดทำโครงการ

ภาพที่ 3 เด็ก ๆ กำลังนับเหรียญรางวัลที่เด็กได้ทำความดีในการเข้าร่วมโครงการว่าเด็ก ๆ แต่ละคนได้แต้มสะสมกี่แต้มเพื่อนำแต้มไปแลกของรางวัล


โครงการ “ สหกรณ์ความดี”


หลักการและเหตุผล
เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุด และเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ การเลียนแบบพฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมในวัยเด็กนี้ หากเด็กได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดี โดยมีจิตสำนึกที่จะทำคุณความดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ผลเมื่อเด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรม มีจิตสำนึกที่จะทำคุณงามความดีต่อไป จอห์น ล๊อค (John Lock) และ ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacque Rousseau) (บุญศรี ไพรัตน์ : 2547)[1]ได้กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว ซึ่งหมายถึงว่า เด็กทุกคนนั้นเกิดมาพร้อมกับความดี ซึ่งเด็กจะเติบโตเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กพึงจะได้รับ ไม่เพียงเป็นการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์เท่านั้น แต่ยังต้องได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นเครื่องหมายของบุคคลที่มีความดีงามในจิตใจอีกด้วย ดังนั้นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก จึงควรปลูกฝังให้เด็ก ให้เป็นบุคคลที่มีรากฐานด้านคุณความดีของชีวิต เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เป็นเยาวชนที่มีจิตสำนึกในการสร้างและทำความดีให้แก่สังคมต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้านางสาววิไลลักษณ์ ผลฝรั่ง ร่วมกับฝ่ายวิชาการ โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้จัดทำโครงการสหกรณ์ความดีขึ้น โดยใช้ทฤษฎีเบี้ยอรรถกร (Token Reward) ซึ่งเป็นทฤษฎีในการปรับพฤติกรรมของเด็กของสกินเนอร์ (จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย : 2549)[2] เพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์โดยการสะสมเบี้ยหรือเหรียญจากการกระทำความดีหรือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ แล้วนำมาแลกของรางวัลที่ปรารถนา โครงการนี้จึงนำเอาทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ในการปรับและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเด็กอันจะเป็นการเสริมแรงให้เด็กทำความดีต่อไป

วัตถุประสงค์

1.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยโดยการใช้เบี้ยอรรถกร
2. เพื่อเป็นการศึกษาและทดลองใช้เบี้ยอรรถกรในการปรับพฤติกรรม
3. เพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการทำคุณความดีให้กับเด็กที่จะตระหนักในการทำความดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
4.เพื่อฝึกให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม และจริยธรรม
5.เพื่อให้เด็กรู้จักการปฏิบัติตนที่ดีในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

เป้าหมาย



เชิงปริมาณ
เด็กนักเรียนอนุบาลของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร้อยละ 80 เข้าร่วมโครงการสหกรณ์ความดี
เชิงคุณภาพ
เด็กนักเรียนอนุบาลของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์
ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ที่เข้าร่วมโครงการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น มีคุณธรรมจริยธรรมและมีสำนึกในการทำความดี

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2551

สถานที่ดำเนินโครงการ
โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาววิไลลักษณ์ ผลฝรั่ง นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

วิธีดำเนินโครงการ
ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการ
2. เสนอหัวข้อการทำโครงการต่อผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ
3. ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาในการดำเนินการ
4. ศึกษาและรวบรวมเบี้ยอรรถกร
5. การดำเนินโครงการ
6. การประเมินผลโครงการ
7. การรายงานโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนชั้นอนุบาลของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปลูกฝังสำนึกในการทำคุณงามความดี ทั้งต่อคนเองและผู้อื่นได้


งบประมาณของโครงการ
งบประมาณที่ใช้จ่ายในโครงการนี้เป็นงบประมาณในการจัดซื้อของรางวัลที่ผู้เรียนใช้ในการนำแต้มหรือเบี้ยอรรถกรมาแลก
1. ค่าเหรียญรางวัล 3 ถุง ถุงละ 70 บาท จำนวนเงิน 210 บาท
2. ค่าของรางวัล
- ดินสอ 1 กล่อง กล่องละ 150 บาท จำนวนแท่ง 100 แท่ง
- ยางลบ 1 กล่อง กล่องละ 50 บาท จำนวนก้อน 100 ก้อน
- ไม้บรรทัด 1 โหล โหลละ 40 บาท
- กบเหลาดินสอ 1 โหล โหลละ 50 บาท
- กล่องดินสอ 1 โหล โหลละ 100 บาท
-สีเทียน 1 โหล โหลละ 50 บาท
- หนังสือนิทาน 2 เล่ม เล่มละ 50 บาท
3. ค่าวัสดุอื่น 100 บาท
(หมายเหตุ ขออนุมัติถัวจ่ายทุกรายการ)

วิธีการประเมินผลโครงการ
จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และแบบบันทึกพฤติกรรมและการได้รับเบี้ยอรรถกร

เบี้ยอรรถกร
เบี้ยอรรถกร เป็นวิธีหนึ่งในการปรับพฤติกรรมและเสริมสร้างพฤติกรรมที่ประสงค์ ของ B.F. Skinner โดยการใช้สิ่งของที่เป็นตัวแทนเบี้ยอรรถกรซึ่งอาจจะเป็นฝาจีบ เหรียญพลาสติก สติ๊กเกอร์ โดยให้ผู้เรียนสะสมตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งเป็นการกำหนดในการแสดงพฤติกรรม แล้วนำมาแลกสิ่งของตามที่ต้องการ โดยมีวิธีการและขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดพฤติกรรมที่ผู้เรียนพึงกระทำโดยพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมที่ดี เหมาะสมและพึงประสงค์กำหนดของรางวัลในการนำเบี้ยอรรถกรมาใช้แลกของรางวัลจากการเก็บสะสมเบี้ยอรรถกร

ตารางของรางวัลในการสะสมแต้มความดี


จำนวนแต้มเบี้ยอรรถกร / ต่อเดือน รางวัล
10 แต้ม ยางลบ
15 แต้ม ดินสอ
20 แต้ม ไม้บรรทัด
25 แต้ม สีเทียน
30 แต้ม สมุดวาดภาพ
35 แต้ม กล่องดินสอ
40 แต้ม หนังสือนิทาน
2. ดำเนินการใช้เบี้ยอรรถกรตามกำหนดระยะเวลาของโครงการ โดยอธิบายรายละเอียด สร้างข้อตกลงในการแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติ ระยะเวลา 3 สัปดาห์
3. เมื่อครบกำหนดให้ผู้เรียนนำเบี้ยอรรถกรมาแลกของรางวัล
4. สรุปผลโครงการจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และแบบบันทึกพฤติกรรมและการได้รับเบี้ยอรรถกรรวมทั้งการแลกรับของรางวัล