Tuesday, December 23, 2008

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1
บทนำ
ภูมิหลัง
“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองข้ามไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป” (เอกสารประกอบการประชุมสมัชชานานาชาติ แห่งประเทศไทย.2550 : 15)
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ปี พ.ศ. 2523 เกี่ยวกับการพัฒนา
“การพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญขึ้นจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมสร้างต่อให้ เจริญขึ้นไปอีกนั้นยากหนักที่จะทำได้ จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่อง พร้อมกันไปด้วย ” (เอกสารประกอบการประชุม
สมัชชานานาชาติ แห่งประเทศไทย.2550 : 10)
สภาพปัจจุบันที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และถูกครอบงำด้วยวัฒธรรมสวนทางกับวัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ลักษณะของเศรษฐกิจสังคมไทยกำเกิดปัญหาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสนอแนวทางการแก้ปัญหา โดยพระราชทานแนวทางแก้ไขวิกฤตของประเทศ ภายใต้ชื่อว่า “ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตนในทางสายกลาง เพื่อให้ประชาชนาชาวไทยรอดพ้น และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ (สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2546 : 2 -4 ) นอกจากนี้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางอันประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ 2 เงื่อนไข ซึ่งหมายความว่า ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายนอกและภายในรวมทั้งต้องอาศัยความรู้ ความรอบรอบรู้ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการทำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน อีกปะการหนึ่งต้องอาศัยคุณธรรม นั้นคือ ความซื่อสัตย์ สุจริต และดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และยอมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างรวดเร็ว (เอกสารประกอบการประชุมสมัชชานานาชาติ แห่งประเทศไทย . 2550 : 15) ซึ่งสอดคล้องกับพระบรมราชโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยได้พระราชทานไว้เนื่องวันงานวันเด็กแห่งชาติ พุทธศักราช 2531 ไว้ว่า
“ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็ก ๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคง”
พระบรมราโชวาทพระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ปีพุทธศักราช 2531 (ภูมิพลอดุลยเดช ,พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา . 2542 : 34)
นอกจากนี้วัยเด็กเป็นวัยของการพัฒนาที่รวดเร็ว เรียนรู้จากการสัมผัสกับสิ่งของ การกระทำ และปฏิสัมพันธ์ สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่เด็กได้รับสัมผัส คือ สิ่งสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งต้องครอบคลุมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา กิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญต้องทำให้เด็กได้รับ เด็กสามารถสัมผัสได้โดยตรงและได้คิดและได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง สนับสนุนพัฒนาการทางอารมณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย สร้างเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ๆ เด็ก ครู จัดการบริการที่สนองความต้องการของร่างกาย สุขภาพ โภชนาการ กิจกรรมสอดคล้องกับความสามารถการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้รับต้องส่งเสริมทักษะภาษาและทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็ก (วารสารการศึกษาปฐมวัย . (2542 : 1)
กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่น อย่างอิสระตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมธรรมชาติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กมีโอกาสเลือกเล่น ได้อย่างอิสระตามความสนใจ และความต้องการของเด็ก ซึ่งในการเล่นตามมุมนี้เด็กอาจจะเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มย่อยก็ได้ (หลักสูตรการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย : 197 )
สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีความเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา (สุชา จันทร์เอม . 2511 ) ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ความคิด ตลอดจนค่านิยมในสังคม ในขณะที่ความเจริญทางวัตถุมีมากขึ้น แต่ความเจริญทางจิตใจกลับลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนเป็นอุปสรรคและปัญหาในการพัฒนาประเทศ (โสภณ รื่นเวทย์ . 2527) และการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้การคำนึงถึงระเบียบวินัยของคนลดน้อยลงเรื่อย ๆ ดังนั้นการปลูกฝังและสร้างเสริมระเบียบวินัยให้แก่คนในชาติ จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นที่เยาวชนที่เป็นเด็กตั้งแต่ระดับเด็กปฐมวัยขึ้นไปด้วยการฝึกฝนอบรมจนเกิดเป็นนิสัย โดยเฉพาะในกิจกรรมเสรีซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระตามมุม ขณะเดียวกันในการเล่นได้มุ่งเน้นในเรื่องของระเบียบวินัย และเป็นกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กเป็นประจำทุกวันในตารางกิจกรรมประจำวัน และหากว่าเด็กได้รับการฝึกปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอ และมีการชีรูปแบบการจัดกิจกรรมและสื่อที่เหมาะสมย่อมช่วยให้เด็กเกิดวินัยในตนเองและคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม
ดังนั้นผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาถึงคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรี บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าจะมีคุณลักษณะอย่างไร เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการศึกษาเด็กปฐมวัย สำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อไป


ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมหลากหลายวิธีที่ตั้งอยู่บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะพัฒนาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเด็กปฐมวัย ซึ่งจะช่วยให้ครู ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในเด็กปฐมวัยได้เกิดความรู้และความเข้าใจต่อคุณลักษณะของเด็กปฐมวัย และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กต่อไป
ขอบเขตของการศึกษา
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุระหว่าง
4 -5 ปี จำนวน 5 ห้อง นักเรียนทั้งหมดมีจำนวน 150 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ นักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 4 – 5ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งได้มาโดยสุ่มเจาะจง (Purposive sampling) ห้องเรียน 1 ห้องเรียน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง
3. ระยะเวลาในการทดลอง
ในการทดลองครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน รวมทั้งสิ้น 30 ครั้ง
4. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย
ตัวแปรตาม คือ กิจกรรมเสรีบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง










นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย- หญิง อายุระหว่าง 4- 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
2. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางดำรงอยู่และปฏิบัติการในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับและตลอดเวลา โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและมีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะและ 2 เงื่อนไข ดังนี้
2.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นอย่างรอบคอบ
2.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเงื่อนไข 2 เงื่อน ดังนี้
2.4 เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ โดยมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและมีการระมัดระวังในการปฏิบัติ
2.5 เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความอดทน มีความเพียร โดยใช้สติปัญญาควบคู่ในการดำเนินชีวิต
3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ กับ 2 เงื่อนไข ได้แก่
3.1 มีความพอประมาณ ซึ่งครอบคลุมถึง
3.1.1 ความพอประมาณกับศักยภาพของตนเอง
3.1.2 ความพอประมาณกับสภาพแวดล้อม
3.1.3 การไม่โลภเกินไปจนเบียดเบียนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
3.2 มีเหตุผล ซึ่งครอบคลุมถึง
3.2.1 การไม่ประมาท
3.2.2 การรู้ถึงสาเหตุ
3.2.3 การมีความสามารถในการพิจารณาค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
3.2.4 การคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำ อย่างไร


3.3 มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวที่ดี ซึ่งครอบคลุมถึง
3.3.1 การพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
3.3.2 การพึ่งตนเองได้ทางสังคม
3.3.3 การคำนึงถึงผลระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
3.3.4 การรู้เท่าทันและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
3.4 เงื่อนไขความรู้และคุณธรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.4.1 การมีความรู้
3.4.2 การมีคุณธรรม
4. กิจกรรมเสรี หมายถึง เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่น อย่างอิสระตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมธรรมชาติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กมีโอกาสเลือกเล่น ได้อย่างอิสระตามความสนใจ และความต้องการของเด็ก ซึ่งในการเล่นตามมุมนี้เด็กอาจจะเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มย่อยก็ได้
5. กิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง
การจัดสื่ออุปกรณ์ของเล่นตามมุมโย ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3 คุณลักษณะ กับ 2 เงื่อนไข เป็นตัวกำหนดสื่ออุปกรณ์โดยจัดมุมประสบการณ์ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้การใช้สื่อจากธรรมชาติ เศษวัสดุต่าง ๆ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระตามที่ตนเองสนใจ
















กรอบแนวคิดในการศึกษาค้นคว้า
กิจกรรมเสรีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มุมบล็อก
มุมหนังสือ
มุมวิทยาศาสตร์
มุมดนตรี
มุมศิลปะ
มุมบทบาทสมมุติ
มุมเศรษฐกิจพอเพียง


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คุณลักษณะที่พึงประสงค์พัฒนาการทั้ง 4 ด้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 3 คุณลักษณะ 2 เงื่อนไข
1. มีความพอประมาณ
2. มีเหตุผล
3. มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
2 เงื่อนไข
1. เงื่อนไขความรู้
2. เงื่อนไขคุณธรรม


Pre – Post Test

1. แบบสังเกตคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. การสะท้อนความคิดเด็ก
- การสนทนา
- พฤติกรรมทั่วไป
- ผลงานเด็ก


เด็กปฐมวัยนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 4 – 5ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลแห่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า
คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลังจัดกิจกรรมสูงขึ้น

No comments: