Tuesday, December 23, 2008

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการศึกษาเรียนรู้โดยใช้การวิจัยในชั้นเรียน (Action Research the classroom ) รวบรวมข้อมูลด้วยการบันทึกพฤติกรรมเชิงคุณภาพจากการจัดกิจกรรมเสรีบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมจากการลงมือปฏิบัติ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
4. แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุระหว่าง
4 -5 ปี จำนวน 5 ห้อง นักเรียนทั้งหมดมีจำนวน 150 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 5 ห้อง จำนวน 100 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย-หญิงอายุระหว่าง 4 - 5 ปี
ชั้นอนุบาลที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยสุ่มเด็ก ห้องเรียน 1 ห้องเรียน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังนี้
1. แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. แบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างขึ้น
3. แบบบันทึกพฤติกรรมและคำพูดเด็ก
4. อุปกรณ์และสื่อที่ใช้ในการจัดมุมเสรี
3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
3.1 การสร้างแผนการจัดกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีลำดับขั้นตอนต่อไปนี้
1 . ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ นภัสวรรณ ชื่นฤดี (2550 ) พระขวัญชัย เกตุธรรมโม (2546) และสมพร พงษ์เสถียรศักดิ์ (2546)
2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสรี ของหลักสูตรการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และ พัชราภรณ์ ภูกองไชย (2546)
3. ผู้วิจัยสร้างแบบแผนการจัดกิจกรรมเสรีบนพื้นบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.1.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : 2542)
3.1.2 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีขั้นในในการสร้างแผนดังนี้
3.1.2.1 ชื่อกิจกรรม
3.1.2.2 จุดประสงค์ของการทำกิจกรรม
3.1.2.3 เนื้อหา
3.1.2.4 การบูรณาการกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.1.2.5 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
3.1.2.6 สื่อและอุปกรณ์ประกอบการทำกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.1.2.7 ขั้นตอนการประเมินผล
4. นำแผนการจัดกิจกรรมกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมโดยใช้เกณฑ์การตัดสิน 2 ใน 3 ท่านของผู้เชี่ยวชาญที่มีความคิดเห็นตรงกัน ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญดังนี้
1. อาจารย์พรรัก อินทาระ อาจารย์ประจำวันสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนสิต
2. อาจารย์กันตวรรณ มีสมสาร ผู้จัดการโรงเรียนกันตนวรรณ
3. อาจารย์พนิดา ชาตยาภา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูถัมภ์
ผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ 2 ใน 3 ท่าน มีความเห็นตรงกัน คือ.......
หรือเท่ากับ 0.5 จึงถือว่าใช้ได้ (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ . 2526 : 89 ) ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ในนี้แต่ข้อได้ความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ IOC = 1.00
5. นำแผนการจัดกิจกรรมกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
6 นำแผนการจัดกิจกรรมเสรีที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วไปจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ แล้วนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง
3.2 ขั้นตอนในการสร้างกรอบการสังเกตคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรีบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการต่างๆ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2 .ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในข้อ 1 มาสงเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณลักษณะของเด็กตามระดับอายุ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน
3 หมายถึง การแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้งหรือจนเป็นปกตินิสัย
2 หมายถึง การแสดงพฤติกรรมบ้างเป็นครั้งคราว
1 หมายถึง การแสดงพฤติกรรมน้อยมากหรือแทบจะไม่ปรากฎ
3. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ข้อ 1 และข้อ 2 มาสร้างแบบสังเกตคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยบน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ผู้วิจัยได้จัดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย มาใช้ในการสร้างแบบสังเกต
4. นำแบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจความเที่ยงเชิงเนื้อหาของแบบสังเกต จำนวน 3 ท่าน
1. อาจารย์พรรัก อินทาระ อาจารย์ประจำสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนสิต
2. อาจารย์กันตวรรณ มีสมสาร ผู้จัดการโรงเรียนกันตนวรรณ
3. อาจารย์เนาวรัตน์ เกิดพิบูลย์ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลธรรมศาสตร์ฯ
ผลการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านลงรวมความเห็นและให้คะแนนรวม โดยใช้เกณฑ์ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. นำแบบสังเกตและคู่มือดำเนินการสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 ใน 3 ท่าน
6. ปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญที่สอดคล้องกันอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน เพื่อแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา แล้วนำคะแนนที่ได้จากการลงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ ICO มากกว่าหรือเท่าหรือเท่ากับ0.5 จึงถือว่าใช้ได้ (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ .2526 : 89 ) ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ในแต่ข้อได้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์
6. นำแบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลองที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก เพื่อนำไปแปรผลต่อไป
4. แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest Design (ล้วน สานยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 249)

No comments: