Tuesday, October 21, 2008

โครงการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา

ภาพถ่ายการจัดทำโครงการ


ภาพที่ 1 เด็ก ๆ และผู้จัดโครงได้ถ่ายรูปภาพการแจกรางวัลที่เด็กได้จากแต้มสะสมความดีว่าเด็ฏ ๆ ได้ของราววัลอะไรบ้างจากการเข้าร่วมโครงการ


ภาพที่ 2 เด็ก ๆ กำลังช่วยกันเก็บที่นอนหลังตื่นนอนภาพนี้แสดงถึงพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เป็นข้อตกลงในการจัดทำโครงการ

ภาพที่ 3 เด็ก ๆ กำลังนับเหรียญรางวัลที่เด็กได้ทำความดีในการเข้าร่วมโครงการว่าเด็ก ๆ แต่ละคนได้แต้มสะสมกี่แต้มเพื่อนำแต้มไปแลกของรางวัล


โครงการ “ สหกรณ์ความดี”


หลักการและเหตุผล
เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุด และเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ การเลียนแบบพฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมในวัยเด็กนี้ หากเด็กได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดี โดยมีจิตสำนึกที่จะทำคุณความดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ผลเมื่อเด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรม มีจิตสำนึกที่จะทำคุณงามความดีต่อไป จอห์น ล๊อค (John Lock) และ ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacque Rousseau) (บุญศรี ไพรัตน์ : 2547)[1]ได้กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว ซึ่งหมายถึงว่า เด็กทุกคนนั้นเกิดมาพร้อมกับความดี ซึ่งเด็กจะเติบโตเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กพึงจะได้รับ ไม่เพียงเป็นการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์เท่านั้น แต่ยังต้องได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นเครื่องหมายของบุคคลที่มีความดีงามในจิตใจอีกด้วย ดังนั้นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก จึงควรปลูกฝังให้เด็ก ให้เป็นบุคคลที่มีรากฐานด้านคุณความดีของชีวิต เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เป็นเยาวชนที่มีจิตสำนึกในการสร้างและทำความดีให้แก่สังคมต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้านางสาววิไลลักษณ์ ผลฝรั่ง ร่วมกับฝ่ายวิชาการ โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้จัดทำโครงการสหกรณ์ความดีขึ้น โดยใช้ทฤษฎีเบี้ยอรรถกร (Token Reward) ซึ่งเป็นทฤษฎีในการปรับพฤติกรรมของเด็กของสกินเนอร์ (จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย : 2549)[2] เพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์โดยการสะสมเบี้ยหรือเหรียญจากการกระทำความดีหรือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ แล้วนำมาแลกของรางวัลที่ปรารถนา โครงการนี้จึงนำเอาทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ในการปรับและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเด็กอันจะเป็นการเสริมแรงให้เด็กทำความดีต่อไป

วัตถุประสงค์

1.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยโดยการใช้เบี้ยอรรถกร
2. เพื่อเป็นการศึกษาและทดลองใช้เบี้ยอรรถกรในการปรับพฤติกรรม
3. เพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการทำคุณความดีให้กับเด็กที่จะตระหนักในการทำความดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
4.เพื่อฝึกให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม และจริยธรรม
5.เพื่อให้เด็กรู้จักการปฏิบัติตนที่ดีในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

เป้าหมาย



เชิงปริมาณ
เด็กนักเรียนอนุบาลของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร้อยละ 80 เข้าร่วมโครงการสหกรณ์ความดี
เชิงคุณภาพ
เด็กนักเรียนอนุบาลของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์
ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ที่เข้าร่วมโครงการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น มีคุณธรรมจริยธรรมและมีสำนึกในการทำความดี

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2551

สถานที่ดำเนินโครงการ
โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาววิไลลักษณ์ ผลฝรั่ง นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

วิธีดำเนินโครงการ
ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการ
2. เสนอหัวข้อการทำโครงการต่อผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ
3. ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาในการดำเนินการ
4. ศึกษาและรวบรวมเบี้ยอรรถกร
5. การดำเนินโครงการ
6. การประเมินผลโครงการ
7. การรายงานโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนชั้นอนุบาลของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปลูกฝังสำนึกในการทำคุณงามความดี ทั้งต่อคนเองและผู้อื่นได้


งบประมาณของโครงการ
งบประมาณที่ใช้จ่ายในโครงการนี้เป็นงบประมาณในการจัดซื้อของรางวัลที่ผู้เรียนใช้ในการนำแต้มหรือเบี้ยอรรถกรมาแลก
1. ค่าเหรียญรางวัล 3 ถุง ถุงละ 70 บาท จำนวนเงิน 210 บาท
2. ค่าของรางวัล
- ดินสอ 1 กล่อง กล่องละ 150 บาท จำนวนแท่ง 100 แท่ง
- ยางลบ 1 กล่อง กล่องละ 50 บาท จำนวนก้อน 100 ก้อน
- ไม้บรรทัด 1 โหล โหลละ 40 บาท
- กบเหลาดินสอ 1 โหล โหลละ 50 บาท
- กล่องดินสอ 1 โหล โหลละ 100 บาท
-สีเทียน 1 โหล โหลละ 50 บาท
- หนังสือนิทาน 2 เล่ม เล่มละ 50 บาท
3. ค่าวัสดุอื่น 100 บาท
(หมายเหตุ ขออนุมัติถัวจ่ายทุกรายการ)

วิธีการประเมินผลโครงการ
จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และแบบบันทึกพฤติกรรมและการได้รับเบี้ยอรรถกร

เบี้ยอรรถกร
เบี้ยอรรถกร เป็นวิธีหนึ่งในการปรับพฤติกรรมและเสริมสร้างพฤติกรรมที่ประสงค์ ของ B.F. Skinner โดยการใช้สิ่งของที่เป็นตัวแทนเบี้ยอรรถกรซึ่งอาจจะเป็นฝาจีบ เหรียญพลาสติก สติ๊กเกอร์ โดยให้ผู้เรียนสะสมตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งเป็นการกำหนดในการแสดงพฤติกรรม แล้วนำมาแลกสิ่งของตามที่ต้องการ โดยมีวิธีการและขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดพฤติกรรมที่ผู้เรียนพึงกระทำโดยพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมที่ดี เหมาะสมและพึงประสงค์กำหนดของรางวัลในการนำเบี้ยอรรถกรมาใช้แลกของรางวัลจากการเก็บสะสมเบี้ยอรรถกร

ตารางของรางวัลในการสะสมแต้มความดี


จำนวนแต้มเบี้ยอรรถกร / ต่อเดือน รางวัล
10 แต้ม ยางลบ
15 แต้ม ดินสอ
20 แต้ม ไม้บรรทัด
25 แต้ม สีเทียน
30 แต้ม สมุดวาดภาพ
35 แต้ม กล่องดินสอ
40 แต้ม หนังสือนิทาน
2. ดำเนินการใช้เบี้ยอรรถกรตามกำหนดระยะเวลาของโครงการ โดยอธิบายรายละเอียด สร้างข้อตกลงในการแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติ ระยะเวลา 3 สัปดาห์
3. เมื่อครบกำหนดให้ผู้เรียนนำเบี้ยอรรถกรมาแลกของรางวัล
4. สรุปผลโครงการจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และแบบบันทึกพฤติกรรมและการได้รับเบี้ยอรรถกรรวมทั้งการแลกรับของรางวัล

No comments: